ทฤษฎีใหม่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ‘ยกสุโขทัยให้สยาม’

ที่มา :ผู้จัดการออนไลน์ 19 ก.พ. 50

อ่านเจอข่าวนี้ บางทีอาจจะต้องถกเถียงกันต่อในหลายๆทาง ทางหนึ่งนั้นเป็นทางวิชาการ แต่อีกทางหนึ่งในเรื่องประวัติศาสตร์การสร้างชาติแบบชาตินิยมซึ่งมีความอ่อนไหวสูงที่การพูดถึงเรื่องเหล่านี้ต้องประเมินผลกระทบทางความสัมพันะระหว่างประเทศพร้อมๆกับการมองเรื่องอคติทางชาติพันธุ์ด้วยเท่าที่ทราบมาเวลานี้ทางกัมพูชาเพิ่งผ่านยุควุ่นวาย การสร้างชาติให้เป็นเอกภาพเพื่อประโยชน์ทางการปกครองจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชนชั้นนำ การใช้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องหนึ่งในนั้นซึ่งประเทศไทยก็เคยใช้วิธีการแบบนี้มาแล้วจนทำให้เกิด มายาคติ ต่างๆที่ต้องแก้ไขเต็มไปหมดในเวลานี้…. 

ประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา ได้นำเสนองานวิจัยชิ้นใหม่ซึ่งทำให้นักวิชาการทั่วไปในกัมพูชาแสดงความไม่พอใจและตั้งข้อสงสัย โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (Jayavarman VII) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แฟ่งยุคเมืองพระนคร (Angkor Wat) นั้นเป็นกษัตริย์เชื้อชาติจาม มิใช่เขมร นอกจากนั้นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ชาวเขมรยกย่องมาทุกยุคทุกสมัย ยังได้ยอมยกดินแดนสุโขทัยของอาณาจักรเขมรแห่งอดีตให้แก่ “พวกสยามโบราณ” ประเด็นนี้จะสร้างความไม่พอใจให้แก่นักประวัติศาสตร์ค่ายความคิดอื่นในกัมพูชาแล้ว ประเด็นนี้ยังดูขัดประวัติศาสตร์ว่าด้วยการก่อตั้งกรุงสุโขทัยของไทย อีกด้วยอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ชาวเขมรด้วยกันเองไม่พอใจอย่างมากก็คือ ศ.วรรณสัก ระบุว่า อาณาจักรนครวัดล่มสลาย เนื่องมาจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 “สร้างวัดและปราสาทหินต่างๆ มากเกินไป” บีบบังคับให้ราษฎรต้องกลายเป็นแรงงานทาส ทำให้เกิดปัญหาข้าวยากหมากแพง และ พังทลายลงทุกระบบในอาณาจักรเมืองพระนครจนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีใครทราบว่า เพราะเหตุใดนครวัดกับนครธมที่ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 9-12 จึงล่มสลายไป และ ชาวเขมรเหล่านั้นหายไปไหนหมด เพราะเหตุใดจึงไม่มีการถ่ายทอด “อารยธรรมนครวัด” สืบต่อกันมา ในปี 2547 ได้มีนักวิชาการตะวันตกนำเสนอทฤษฎีเกิดโรคระบาด เกิดทุพภิกขภัย และ ภัยแห้งแล้งว่าเป็นเหตุทำให้อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องพังครืนลง ค่ายความคิดนี้ใช้วิธีศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาของโลก จากภาพถ่ายดาวเทียม ในการให้สัมภาษณ์วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาเขมรในวันเสาร์ (17 ก.พ.) ที่ผ่านมา ศ.วรรณสัก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในกรุงปารีส ได้ยืนยันในการค้นพบของตน โดยอ้างหลักฐานชั้นต้นชิ้นหนึ่งที่อยู่ในครอบครองและได้ศึกษาเรื่องนี้มาโดยตลอด

ยังไม่มีใครทราบรายละเอียดว่า ปราชญ์ทางด้านประวัติศาสตร์ชาวเขมรผู้นี้ มีหลักฐานชั้นต้นชนิดใดอยู่ในมือ แต่ก็เชื่อกันว่าหากเป็นเช่นนั้นจริงก็น่าจะเป็นศิลาจารึกหลักใหม่ที่ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั้น เป็นที่ยกย่องเทิดทูนของชาวเขมรมาทุกยุคสมัย ปราสาทหินนครวัดก็ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์บนธงชาติของกัมพูชาในทุกยุค กระทั่งในยุคที่ป่าเถื่อนที่สุด ช่วงที่พวกเขมรแดงขึ้นครองอำนาจ

ไม่ว่าพระองค์จะมีเชื้อชาติจามหรือเชื้อชาติอะไรก็ตาม แต่ที่แน่ๆ คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นกษัตริย์ชาวพุทธ ที่ชาวเขมรยุคใหม่ยกย่องให้เป็น “Chey Puth” (Chey= Jaya= Victory, Puth= Buddha) ซึ่งมีความหมายว่า พระพุทธเจ้าแห่งชัยชนะ (Victory Buddha) เป็นยิ่งกว่ากษัตริย์พระองค์หนึ่ง.

24 comments on “ทฤษฎีใหม่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ‘ยกสุโขทัยให้สยาม’

  1. Khun T พูดว่า:

    ดูทีวีฝรั่ง ไม่แน่ใจว่าช่องไหนระหว่าง History Channel, National Geographic หรือ Discovery พูดถึงเรื่องจุดจบของนครวัดว่าหนึ่งในสาเหตุที่คาดว่าจะเป็นก็คือการที่เจอข้าศึกบุกมาตีบ้านตีเมืองกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนไป ซึ่งชนกลุ่มนี้ก็คือ ชาวสยาม สาเหตุอื่นๆก็เรื่องแล้ง และมีอีกข้อที่น่าสนใจก็คือ ในยุคหลังทางนครวัดละเลยการจัดการน้ำที่เป็นหัวใจสำคัญ ทำให้มีปัญหาในการทำไร่ทำนา

  2. ขุนพลน้อย พูดว่า:

    ถ้าผมจำไม่ผิดในเรื่องการรุกของชาวสยามน่าจะเป็นช่วงเจ้าสามพระยายกทัพไปนครวัดครับ คิดว่าช่วงนั้นหลังจากสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มาโขอยู่

    ประด็นเรื่องภัยธรรมชาติ การจัดการน้ำกับระบบการจัดการแรงงาน(การสร้างปราสาทหินที่ต่อเนื่องมาทุกสมัยารปกครองขอมแต่มักจะไม่ค่อยเสร็จสักหลัง)น่าเป็นประเด็นสำคัญของการล่มสลายอาณาจักรหลังพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพราะคงมีความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้วแต่ยังเกรงในอำนาจของพระองค์ แต่หลังจากการสวรรคคตอำนาจส่วนกลางของขอมสูญสลายไป เกิดการแตกตัวเป็นอาณาจักรใหม่ๆขึ้นมาเช่น สุโขทัย หรืออยุธยา(อาจแบ่งย่อยได้อีกเป็น อู่ทอง ละโว้ สุพรรณภูมิฯลฯ) ก็เกิดช่วงเวลาที่อำนาจขอมจากส่วนกลางอ่อนแอลงนี้เอง อาณาจักรย่อยเหล่านี้ก็ค่อยๆเข้มแข็งขึ้นในภายหลังจนเริ่มกลืนอาณาจักรกันเอง จนอยุธยามีบทบาทสูงสุดในลุ่มมแม่น้ำเจ้าพระยา

  3. Khun T พูดว่า:

    บางครั้งก็ยังสงสัยว่า สุโขทัยเป็นเมืองหลวงของไทย จริงหรือเปล่า

    เพราะว่าไปแล้วสมัยนั้นน่าจะเป็นแคว้น ก๊ก เมือง มากกว่าการเป็นประเทศ แต่ความรู้ทางประวัติศาสตร์ผมก็แค่ความรู้จากหนังสือกระทรวงศึกษาชั้นประถมและมัธยม

    นอกเรื่องไปในแง่อารยธรรมลึกลับ ทีวีฝรั่งเคยพูดว่า มหาปิรามิดกีซา นครวัด กับอะไรอีกแห่งหนึ่งน่าจะเกิดประมาณ ๑๕,๐๐๐ ปีแล้ว เพราะตรงกับกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่ง และบ้างก็ว่าทั้งสามแห่งเกิดจากอารยธรรม Atlantis ที่สาบสูญ คนจากแอ็ทแลนติสกระจัดกระจายไปคนละทิศทาง แล้วก่อสร้างสิ่งก่อสร้างทั้งสามแห่ง

  4. ขุนพลน้อย พูดว่า:

    เข้าใจว่าน่าจะคิดตรงกันครับในเรื่องที่สุโขทัยมีลักษณะเป็นก๊กหรือแคว้นที่มีมากมายหลังการสูญสลายขั้วอำนาจใหญ่ซึ่งก็คือขอมและ พุกาม จากนั้นแคว้นเล็กน้อยก็เกิดขึ้นมากมายรวมทั้สุโขทัย (ผมมองภาพคล้ายๆยุคชุนชิว จั๋นกว๋อ ในจีนก่อนการรวมอาณาจักรในยุคจิ๋นซี)

    การช่วงชิงอำนาจในลุ่มน้ำเจ้าพระยา คงเริ่มจากก๊กต่างๆเหล่านี้ บ้างก็ใช้วิธีการร่วมมือกันทางการเมือง ทางการทหาร หรือบางทีก้ร่วมมือกันจากการแต่งงานเพื่อเป็นการสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง กับแคว้นอื่น เพราะการมีอำนาจนาจเหนือลุ่มแม่นำเจ้าพระยานอกจากจะเรื่องความสมบูรณ์แล้วยังสำคัญสามารถคุมเส้นทางการค้าโลกตะวันตก(อินเดีย)กับโลกตะวันออก(จีน)ได้อีกด้วย เหตุผลนี้เองที่น่าจะทำให้การชิงอำนาจมีสูง ส่วนอาณาจักรแรกที่น่าจะเรียกว่ารวมอำนาจได้อย่างมีเสถียรภาพมากที่สุดคงเป็น อยุธยา มากกว่าสุโขทัยครับ (สุโขทัยเป็นวาทกรรมเพื่อสร้างรัฐชาติไทยสมัยหลังมากกว่า)

    ส่วนในกรณีการสร้างนครวัดนั้นน่าจะไม่ถึง 15000 ปี เพราะมีศิลาจารึกที่ระบุค่อนข้างชัดว่าสร้างโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 น่าจะราวพุทธศตวรรษที่ 17 นี้เอง แต่เรื่องการสร้างลักษณะดาราศาสตร์นั้นอาจเป็นไปได้เลยทำให้มีบางอย่างพ้องกัน เนื่องจากดาราศาสตร์ในอดีตคิดว่ามีอิทธิพลต่อการสร้างวางผังเมืองเช่นกัน แต่คงต้องให้ผู้รู้กว่าผมมาอธิบาย

    ส่วนเรื่องอารยธรรมแอตแลนติสที่พูดถึงกันมาก คงยังต้องบอกว่าเป็นข้อถกเถียงกันต่อไป เพราะผมไม่เชี่ยวชาญด้านนี้ แต่เท่าที่พอรู้วัฒนธรรมด้านอิยิปต์มาเล็กน้อย พบว่าวัฒนธรรมอิยิปตืมีพัฒนาการที่ก้าวกระโดดจนน่าตกใจมากทีเดียว บางทีเรื่องอารยธรรมใต้ทะเลอาจไม่ใช่เรื่องเกินเชื่อ เพียงแต่ยังค้นหลักฐานทางโบราณคดีที่ระบุแน่ชัดไม่ได้(คล้ายๆกับเรื่องตำนานทรอยที่เดิมเชื่อว่าเป็นเพียงนิทาน) การก้าวกระโดดทางวัฒนธรรมของอิยิปต์อาจเป็นพัฒนาการต่อเนื่องจากอารยธรรมที่สูญหายไปก็ได้

  5. Khun T พูดว่า:

    มีเรื่องหนึ่งที่สงสัยตลอดมาว่า เมืองไทยยุคสุโขทัย อยุธยา มีการใช้ธนูหรือเปล่า เข้าใจว่าสุโขทัยมีการติดต่อกับทางจีน ทางสุโขทัยน่าจะมีการใช้ธนู แต่ถ้าหากมีการใช้ธนูจริง การรบบนหลังช้างทำไมยังสามารถทำได้

  6. ขุนพลน้อย พูดว่า:

    คงมีครับ ธนูน่าจะเป็นเครื่องมือมาตั้งแต่ยุคล่าสัตว์หาของป่า โดยเฉพาะภูมิภาคอุษาคเยย์มีไม้เอยะ พวกเครื่องมือไม้ปลายแหลม หรือธนูคงจะมีแล้ว

    เรื่องการจัดทัพในการสงครามผมไม่ค่อยรู้เรื่องนัก แต่หากเป็นยุทธหัตถีคิดว่าน่าจะเป็นการท้าดวลกันตัวๆมากกว่า หรืออาจเป็นการปะทะระยะประชิด บรรดานายทัพผู้อยู่บนหลังช้างโดยมากมักไม่ค่อยปะทะ สั่งการมากกว่า ดังนั้นกว่าจะเข้าถึงทัพหลวงการลอบยิงด้วยธนูคงทำได้ยาก จะยิงทหารเลวก็ไม่มีประโยชน์อะไร

    นอกจากนี้ธนูมันมีระยะยิงครับถ้าไกลเกินหรือรุกเข้าไปอย่างรวดเร็วธนูจะหมดประสิทธิภาพ เอาช้าง ม้ารุกไปกระทืบจะได้ผลมากกว่า กลศึกที่ใช้ธนูมักจะบวกด้วยการล่อลวงทัพศัตรูเข้าที่อับ จากนั้นจึงปิดทางหนีแล้วระดมยิงจากด้านบน วิธีการนี้ได้ผลนักครับ

  7. Khun T พูดว่า:

    มีเรื่องมากวนถามว่า คำว่าสยามปรากฏเป็นหลักฐานตรั้งแรกเมื่อไหร่ครับ

    กลับมาเรื่องธนูซักนิด พอดีเห็นแผ่นปิดและเบื้องหลังการถ่ายทำหนังพระนเรศวรพร้อมกับเพื่อน เลยวิจารณ์กันว่า เมืองไทยสมัยก่อนไม่น่าจะมีชุดเกราะแบบในหนังนะ เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน แล้วก็เลยคุยกันต่อว่า เมืองไทยซึ่งรวมถึงพม่าในสมัยนั้น คงไม่มีกำลังพลธนูจัดตั้ง เพราะถ้าดูจากคูเมือง กำแพงเมืองที่ค่อนข้างเตี้ย น่าจะพอสันนิษฐานว่าการรบในสมัยก่อนจะเป็นการออกไปเผชิญหน้ากันเป็นหลัก เพราะถ้าฝายใดฝ่ายหนึ่งมีอาวุธระยะยาวอย่างธนูแล้ว ลักษณะการป้องกันเมืองน่าจะเปลี่ยนไปบ้าง ยกเว้นว่าเราอาจไม่มีเทคโนโลยี่ในการก่อสร้าง ก็เป็นแค่ข้อคิดเห็นนะครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติม ระยะธนูอ้งกฤษซึ่งถือว่าเป็นที่สุดของพลธนูอยู่ในระยะ ๒๐๐ หลา

  8. ขุนพลน้อย พูดว่า:

    จะไปค้นคำว่าสยามมาเพิ่มให้ทีหลังนะครับ แต่เท่าที่รู้ตอนนี้ที่ปราสาทนครวัด(สุริยวรมันที่ 2 เจ้าเก่า ราวพุทธศตวรรษที่ 17)มีภาพสลักนูนต่ำพร้อมจารึกคำว่า เสียมกก จึงคาดว่าคำว่าเสียมก็คือคำว่าสยามที่ชาวเขมรโบราณพูดถึงชุมชนแถบนี้ บางคนสันนิษฐานว่าชาวเสียมลุ่มแม่น้ำกกครับ

    ส่วนทางจีนก้มีเรียกทางเราเหมือนกันว่าเสียมหลอ ทางมลายูใช้คำว่า สิเย

    ดังนั้น ขอสรุปง่ายๆเอาเองว่าคำว่าคงหมายถึงคำเรียกคนที่อยู่บริเวณที่เราอยู่ในปัจจุบันมาตั้งแต่อดีตนั่นเองครับ

    เรื่องชุดเกราะในหนังนเรศวรคงเป็นการออกแบบใหม่ให้เท่ขึ้นตามประสาท่านมุ้ย ปกติคงใส่เสื้อผ้าแบบที่เราเห็นตามจิตรกรรมฝาผนังวัดต่างๆมากกว่า ถ้าเป็นเกราะป้องกัยคงเป็นเครื่องหนังง่ายๆแล้วแต่งลวดลายให้สวย ถ้าสนใจมีภาพสมุดไทยวัดยมครับ วาดขึ้นในสมัยพระนารายณ์(ปัจจุบันโบสถ์ที่มีภาพพังไปแล้วเหลือแต่ที่คัดลอกในสมุดไทย)เป็นรูปกองทหารอาสาชาติต่างๆโดยเฉพาะกรมท่าขวาหรืออาสาแขก สวยงามทีเดียว

    สำหรับกำลังพลธนูจัดตั้งมีหรือไม่อันนี้ไม่ทราบจริงๆครับ เพียงแต่ธนุคงมีใช้นานแล้ว

  9. Khun T พูดว่า:

    มีภาพให้ดูบนอินเตอร์เน็ตมั้ยครับ

  10. Khun T พูดว่า:

    ไปเจอบทความที่ท่านปรีดีมีการพูดถึงสยาม http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=11&s_id=8&d_id=7

  11. ขุนพลน้อย พูดว่า:

    ผมขอโทษคุณทีที่ยังไม่ได้หารูปมางเพื่มเติมให้ จะรีบหามาให้นะครับ

    แล้วก็ขอบคุณสำหรับข้อมูลเรื่องสยามที่เป็นบทความของอ.ปรีดี หวังว่าคงเป็นความรู้ให้กับสังคมไทย/สยามได้อีกมากมายเลยทีเดียว

  12. ขุนแผน พูดว่า:

    ไม่มีรูปหรอครับ พอดีผมหาเรื่องนี้น่ะครับ ทำรายงานพอดี

  13. ขุนพลน้อย พูดว่า:

    http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.archaeopen.com/image/jitpumisak2.jpg&imgrefurl=http://www.archaeopen.com/payao_jprakai3.htm&h=480&w=330&sz=92&hl=th&start=3&um=1&tbnid=4dm8dOr9g6Y19M:&tbnh=129&tbnw=89&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2581%26svnum%3D10%26um%3D1%26hl%3Dth
    ในเว็บนี้ ช่วงท้ายๆมีภาพกองทัพเสียมกูกหรือเสียมกก จากปกหนังสือของจิตร ภูมิศักดิ์ ครับ บนหลังช้างจะเห็นภาพบุคคลถือธนูด้วย คงตอบคำถามการใช้ธนูได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 17 หรือสมัยนครวัดแล้ว

    หากจะหาภาพเพิ่มลองพิมพ์คำว่า เสียมกุกในกูเกิ้ลดูนะครับ

  14. เฮ้อ พูดว่า:

    ที่ดูตามสารคดีเขาก็บอกว่าคนไทยนะแหล่ะไปตีเขาระบบถึงได้พังหมด

    เอาทอง เอาผญ เอาไรไปหมดเลย

    ใจร้ายมาก รบกันไปๆมาๆ

    ไม่มีแผ่นดินเป็นของใครที่แท้จริงหรอก ฆ่ากันไม่รู้กี่รุ่นๆน่ากัวจัง

    (หวังว่าคนไทยคนไม่ทำตัวเหมือนคนญุีี่ปนที่บิดเบือนประวัติศาสตร์เข้าข้างตัวเองนะ)

    เพราะอย่างน้อย ทุกๆอารยธรรม เกิดได้บนการนองเลือดมาก่อนทั้งนั้น

    เฮ้อ อนิจจัง

  15. ขุนพลน้อย พูดว่า:

    ผมคิดว่าการตีเมืองนั้นเป็นระบบคิดแบบโบราณซึ่งเป็นเรื่องปกติ หากต้องการการยอมรับการเป็นจักรพรรดิราชเหนืออินแดนอื่นๆ รัฐย่อยๆอย่างสยามอยุธยาบางทีก็ไปตีเขา แต่บางทีก็ถูกเขาตีเวลาโดนเผาอยุธยาเราก็เล่ากันอย่างเจ็บปวดโกรธเคืองเพื่อบ้านมาถึงปัจจุบัน ทั้งที่ระบบความสัมพันธ์มันเปลี่ยนไปนับร้อยปีแล้ว

    ปัจจุบันระบบรัฐเป็นแบบตะวันตกที่มีเส้นดินแดนชัดเจน ไม่ใช่การยอมรับพระราชอำนาจเหนือดินแดนแบบหัวเมืองประเทศราชซึ่งกำหนดดินแดนไม่ได้ ดังนั้นการตีเมืองกันมันไม่ควรอยู่ในจินตนาการคนยุคนี้อีกแล้ว ไม่รู้จะแค้นเคืองกันไปทำไม เมื่อระบบคิดเรื่องชายแดนและดินแดนเกิดชึ้นแล้ว ความสัมพันธ์ผ่านการค้าขายจะยังประโยชน์กว่าการทำสงครามศักดิ์ศรีมากนักครับ

  16. tor พูดว่า:

    ก็งั้นๆๆ

  17. a few comment พูดว่า:

    ถ้าอาณาจักรแรกที่น่าจะเรียกว่ารวมอำนาจได้อย่างมีเสถียรภาพมากที่สุดคงเป็น อยุธยา มากกว่าสุโขทัยครับ (สุโขทัยเป็นวาทกรรมเพื่อสร้างรัฐชาติไทยสมัยหลังมากกว่า)

    คำถามคือแล้วเราจะอธิบายความยิ่งใหญ่ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงยังไงดีครับ หากดูในแผนที่โบราณสมัยพ่อขุนรามคำแหง จะพบว่าเหนือจรดจีนและพุกาม ใต้จรดถึงแหลมมาลายูเลยนะครับ จริงอยู่ว่ายุคสุโขทัยนั้นอาจสั้นกว่ายุดอยุธยามากนัก แต่ว่าเมื่อเทียบกับราชวงศ์มองโกล หรือหยวนมั๊งถ้าผมจำไม่ผิด นั้นยิ่งสั้นเข้าไปใหญ่สามรุ่นก็จบแล้ว แต่ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ของจีนนะครับ

  18. ขุนพลน้อย พูดว่า:

    แผนที่ที่พูดถึงน่าจะเป็นแผนที่ของนายทองใบ แตงน้อยซึ่งเป็นแผนที่ที่ใช้เรียนและสร้างจินตนาการความเป็นไทยร่วมกัน แต่ในรัฐโบราณไม่ได้ใช้แผนที่แบบมีเส้นแดนมาก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 รัฐต่างๆแยกและรวมตัวกันอย่างหลวมๆภายใต้แนวคิดจักรพรรดิราช แต่คงไม่ได้มีอำนาจในการปกครองดินแดนนั้นๆ เช่น นครศรีธรรมราชอาจจะส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองมาให้ แต่ไม่ได้หมายความว่ามีอำนาจเหนือจริงๆและคงไม่ได้มีอำนาจเหนือไปถึงดินแดนมลายูจริงๆ แต่การบรรยายถึงอำนาจของกษัตริย์มักบรรยายจดทะเลที่จินตนาการถึงเสมอ

    ในแนวคิดเดียวกันถ้ายอมรับว่าการส่งบรรณาการคือการเป็นส่วนหนึ่ง ก็จะหมายความว่าการที่รัฐต่างๆเช่นสุโขทัย หรืออยุธยายอมจิ้มก้องต่อจีนนั้นคือการเป็นส่วนหนึ่งของจีน ซึ่งความจริงแล้วเป็นเรื่องของการยอมรับในอำนาจทางจารีตมากกว่าการยอมรับอำนาจการปกครอง

    สุโขทัยมีอำนาจในภาคกลางตอนบน แต่ภาคเหนือแม้แต่ล้านนาเองก็มีอิสระในตัวเองไม่ได้ขึ้นแก่กันครับ ส่วนอยุธยาช่วงแรกๆอาจจะไม่ได้เข้มแข็งนักแต่เมื่อตั้งตัวในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและคุมการค้าได้ จึงค่อยเริ่มคานอำนาจสุโขทัยได้ในที่สุด เรื่องการแย่งอำนาจทางการเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างราชวงศ์อู่ทอง พระร่วง สุพรรณภูมิ สะท้อนให้เห็นชัดในหนังเรื่องสุริโยทัยครับ

  19. stemis พูดว่า:

    ผมชอบเรื่องราวของประเทศไทยมากเลยครับ

  20. Arnold42 พูดว่า:

    Because that is how traffic is supposed to work! ,

  21. สมรัก พูดว่า:

    อาณาจักรเขมรอันยิ่งใหญ่โดนกุบไลข่านและลูกชายตีแตกตอนสมัยพ่อขุนรามคำแหงพอดีครับ

  22. สมรัก พูดว่า:

    มีบางคนเขาพูดว่าคนสมัยพ่อขุนรามแหงประชาชนพูดภาษาเขมรพ่อขุนรามคำแหงพูดภาษาลาวอ.นครไทย พิษณุโลก

  23. สมรัก พูดว่า:

    สรุปคนไทยก็คือคนเขมรแน่นอน

  24. สมรัก พูดว่า:

    คนลาวคือไทยแท้ คนเขมรคือไทยเทียม

การแสดงความเห็นถูกปิด