พบสุสานโบราณราชวงศ์ซ่ง พร้อมหินสลักรูปสาวชุดเกาะอก

ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาในการเขียนบล็อกเรื่องของตัวเอง เลยเปิดเว็บไซต์ ผู้จัดการเก็บเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาฝาก แม้เรื่องท่าทีทางการเมืองกับความเป็นสื่อมวลชนอาจจะต้องตั้งคำถามกันบ้าง แต่เรื่องเกี่ยวกับจีนนับว่ามีเยอะทั้งน่าสนใจ เรียบเรียงไว้อ่านง่าย คล่องคอ

lady1.jpg 

ผู้จัดการออนไลน์ 26 กุมภาพันธ์ 2550 ซินหัวเน็ต—เมื่อไม่นานมานี้ที่เมืองเจียงจวินซึ่งติดกับนครฉงชิ่งได้มีการขุดค้นพบที่ฝังศพโบราณสมัยราชวงศ์ซ่ง สร้างความแปลกใจให้กับนักโบราณคดีที่ขุดพบ เมื่อภายในพบหินสลักสวยงามมากมาย อาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปะชั้นสูงในสมัยนั้น ที่โดดเด่นคือรูปสลักหญิงสาวซึ่งสลักรูปตนเองไว้บนที่ฝังศพ ปรากฏเป็นศิลปะการแต่งกายด้วยเสื้อเกาะอกรูปแบบสมัยราชวงศ์ถัง สำนักงานกำกับดูแลทางด้านวัฒนธรรมและคณะสำรวจโบราณคดีแห่งเมืองเจียงจวิน พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ขุดพบสุสานที่ฝังศพหมู่ “ซานซีจื่อ”จำนวน 9 แท่น ซึ่งอยู่ในระหว่างสมัยราชวงศ์ฮั่นถึงราชวงศ์ซ่ง หมิงและชิงตามลำดับ ตลอดจนสุสานที่ฝังศพคุ้มตระกูลเศรษฐีตามหลักฐานคือแซ่ “จง” จำนวน 4 แท่น ซึ่งอยู่ในสมัยราชวงศ์ซ่ง และสุสานที่ฝังศพ “ต้าเฝินเป่า” รวมไปถึงวัตถุโบราณทางด้านวัฒนธรรมที่สำคัญอีกมากมาย โดยที่ฝังศพในสมัยราชวงศ์ซ่งนั้นได้พบหินสลักสวยงาม ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปะชั้นสูงในสมัยนั้นภายในสำนักงานโบราณคดีของเมืองเจียงจวิน นักข่าวได้เห็นหินสลักอันล้ำค่ามากมาย โดยด้านบนของสุสานนอกจากจะมีดอกโบตั๋นที่เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความมั่งคั่งแล้ว ยังมีภาพสัญลักษณ์ของเจ้าของสุสานเป็น “รูปกวาง” แทนแซ่ของตระกูล “ลู่”ด้วย (กวาง ในเสียงจีนกลางนั้นออกเสียงว่า ลู่ ซึ่งเสียงเหมือนกับแซ่ ลู่) ในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้นั้น การทำสัญลักษณ์บนที่ฝังศพนั้นจะพบเห็นได้น้อยมาก และบนที่ฝังศพพบหลักฐานการจดบันทึกว่าสร้างขึ้นในปี “ฉุนอิ้วที่11” หรือเมื่อประมาณ 700 กว่าปีที่แล้วนั่นเอง

 ภายในจำนวนที่ฝังศพ 2-3 แท่นของสมัยราชวงศ์ซ่งนั้น ปรากฏมีรูปสลักของคนที่สวยงามในลักษณะนั่งบ้างยืนบ้างอยู่บนแต่ละแท่น นักโบราณคดีอธิบายว่า นี่คือวัฒนธรรมโบราณในเขตเจียงจวิน ที่จะมีรูปสลักของผู้ตายอยู่ภายในแท่นที่ฝังศพ ซึ่งครอบครัวธรรมดาทั่วไปจะไม่สามารถเชิญช่างมาแกะสลักให้ได้ เพราะที่ฝังศพเหล่านี้จะทำได้ก็แต่เพียงผู้มีฐานะเท่านั้น หินสลักของบรรดาเจ้าของเหล่านี้ต่างก็ดูเหมือนมีชีวิตจริงๆ แกะสลักจากหินทรายเนื้อละเอียดปราณีต ซึ่งในช่วง 200-300 ปีที่ผ่านมานี้พบเจอได้น้อยมาก

       เจ้าของที่ฝังศพหญิง สวมเสื้อเกาะอก 

ในแท่นบูชาของที่ฝังศพสมัยราชวงศ์ซ่ง มีหินสลักเจ้าของที่ฝังศพเป็นหญิง เกล้าผมไว้บนศีรษะ นั่งสงบอยู่บนเก้าอี้อันเป็นลักษณะของผู้มีฐานะในสมัยนั้นเท่านั้น อากัปกิริยาอยู่ในท่าสงบนิ่ง สองมือวางซ้อนกัน แต่งกายด้วยเสื้อแพรบาง โดยเสื้อที่เห็นเป็นแบบ “เกาะอก” นักโบราณคดีอธิบายได้ว่า เป็นอิทธิพลมาจากสมัยราชวงศ์ถัง ที่ผู้หญิงในสมัยราชวงศ์ซ่งรับวัฒนธรรมมาอีกที นับเป็นเรื่องใหม่ที่พบเจอ มีความเป็นไปได้ว่าระดับเจ้าขุนมูลนายจะชอบการแต่งกายเช่นนี้ หรือไม่ก็เป็นไปตาม “กระแสสมัยนิยม”ก็ว่าได้ ซึ่งยังต้องศึกษาวิจัยกันต่อไป

 ที่ฝังศพสมัยราชวงศ์ซ่งนิยมสลักรูปตนไว้ก่อนตาย

ตามที่นักโบราณคดีวิเคราะห์ การสร้างสุสานที่ฝังศพให้สวยงามได้เช่นนี้นั้น ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีกว่า โดยผู้มีฐานะจะเชิญช่างแกะสลักมาที่บ้าน โดยแกะจากคนจริงๆ ในขณะนั้น และในสมัยนั้นท่าทางที่นิยมกันมากที่สุดก็คือการวางมือซ้อนกันบนตักโดยมีแขนเสื้อปกคลุม ทำให้มองดูแล้วมีความสุขุมเยือกเย็น

ในที่ฝังศพเคียงข้างกันนั้น ด้านซ้ายเป็นหินสลักผู้ชาย ลักษณะใบหน้ามีหนวดเครา ด้านข้างของผู้ชายทุกแท่นจะมีคนรับใช้ 1 คนอยู่ข้างๆ ตำแหน่งของคนรับใช้กับเจ้านายแต่ละแท่นจะมีโครงสร้างทางศิลปะที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด น่าจะเป็นไปตามลักษณะนิสัยของผู้เป็นนาย ซึ่งน่าจะมีการปรึกษากับช่างหินก่อนแกะสลักอย่างแน่นอน.

1 comments on “พบสุสานโบราณราชวงศ์ซ่ง พร้อมหินสลักรูปสาวชุดเกาะอก

  1. GiiGi'zz Saranya พูดว่า:

    โอ้ งาน!!!!

การแสดงความเห็นถูกปิด