วัน ‘แม่’ กับหลากเรื่องราวของแม่

12 สิงหาคม 2551

วันนี้เป็นวันที่ 12 สิงหาคม หรือวันแม่แห่งชาติ เคยเขียนถึงเรื่องนี้ไว้ที่หนึ่งจึงขอย้อนกลับเอาอ่านเก่าๆมาลงอีกครั้ง

 

นวันๆเดียวกันกลับมีเรื่องราวให้เรารับรู้มากมายหลายมิติ เชื่อหรือป่าว มีเรื่องราวจะเล่าให้ฟัง 

แม่แห่งชาติ

 หากลองพลิกไปดูบนหน้าปฏิทิน คงจะสังเกตเห็นตัวเลขสีแดงมากมาย หลายวันในสีแดงนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่บอกว่าวันนั้นเป็นวันสำคัญ แน่นอนว่าเมื่อเห็นความยินดีคงตามมาเพราะจะได้หยุดทำงานหรือหยุดเรียนเป็นพิเศษ แต่ในเชิงคุณค่าและความหมาย เคยลองหันมาตั้งคำถามกับวันสำคัญๆเหล่านั้นว่าแท้จริงแล้วสำคัญเพียงใด…กับใคร ? วันเหล่านั้นหลายวันทีเดียวที่มักมีคำว่า แห่งชาติพ่วงท้าย หากมองกลับไปในคำถาม จะพบอีกว่าวันแห่งชาติเหล่านั้นมักจะวันสำคัญของใครในฐานะปัจเจกบุคคลที่มีฐานะทางสังคมวัฒนธรรมพิเศษเสียมากกว่าที่จะมีความพิเศษในทางสัมพันธ์กับสังคม   อ่านเพิ่มเติม

ปราสาทพระวิหาร :มองจากมุม ‘วิชาการ’ ไม่เกี่ยวกับ ‘ดินแดน’ ปัญหาคือความน่าเชื่อถือของ ‘ยูเนสโก’ และน้ำยากระทรวงต่างประเทศ

ไม่ข้องใจคนกัมพุชา แต่ข้องใจกรรมการมรดกโลก และกระบวนการ ไม่เป็นมรดกโลกก็ได้ เพราะมันเหมือนป้ายเชลล์ชวนชิมเท่านั้น มันเหมือนการยืนยันว่ามีการจัดการที่ดี ซึ่งการจัดการที่ดีไม่ต้องเป็นมรดกโลกก็ได้ แต่วิธีการไม่ตรงไปตรงมา เพราะถ้าตรงไปตรงมา ประเทศเช่นพม่าควรได้มรดกโลกตั้งนานแล้วทำจึงไม่ได้ และอย่าให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อทางการเมืองศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

ถ้าจะจัดการได้ไม่ต้อมีเส้นแดน เพราะมีมรดกหลายประเทถูกคุ้มครองดดยหลายประเทศ แต่พออยู่ที่รัฐพูดเรื่องอธิปไตย แต่เราไม่ได้พูดว่าสิ่งที่เราจะปกปักรักาเป็นสิ่งร่วมกัน ชุมชนก็ไม่เคยได้มีส่วนร่วมเลย พอครอบครองแล้วเขาต้องเสียเงินเข้าไปทั้งที่เมื่อก่อนเขาเข้าไปเคารพบูชาได้ ถ้าหยิบประเด็นดินแดนมาพูดก้ทะเลาะ เพราะอ้างแผนที่คนละฉบับ และเราต้องเข้าใจแผนที่กัมพูชาเพราะเป้นแผนที่ที่เคยใช้ชนะในศาลดลกมาแล้ว ในขณะที่ไทยก้เคยทำสัญญากับฝรั่งเศสจึงเป้นพื้นที่ทับซ้อน ที่กัมพุชาคิดก็ถูก ที่ไทยคิดมันก็ถูก ถ้าเอาการเมืองน้อยลง เอาวิชาการมากขึ้น เอาสติ เอาความรู้ เอาปัญญามาไตร่ตรองก็ไม่มีปัญหาพิสิฐ เจริญวงศ์

 

ดีใจที่ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่มันควรยิ่งใหญ่กว่านี้ คุณค่าควรต้องร่วมกันภารณี สวัสดิรักษ์

 

ความเห็นต่อกรณีเขาพระวิหารหลังการเสวนา

 

 

 

000

 

กรณีเขาพระวิหารยังคงเป็น ความเมืองของสองประเทศที่มีการเมืองภายในอันซับซ้อน และสิ่งที่ถูกนำเสนออย่างต่อเนื่องคือความทับซ้อนในเรื่อง ดินแดนในขณะที่ความเป้นหรือไม่เป็นมรดกโลกนั้นคือเรื่องการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของมนายชาติที่ไม่อาจเอ่ยอ้างความเป้นเจ้าของได้แต่อย่างใด ในขณะเดียวกันสิ่งที่ไม่เคยถูกนำมามองเลยกลับเป้นเรื่องของ วิชาการ

 

แม้ว่ากรณีมรดกโลก จะทำให้ต้องมาถกกันอีกครั้งในแง่ของ ความเมืองเชิง ดินแดนและในแง่กฎหมายที่ทำให้รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศต้องสังเวยสถานการณ์และวิกฤติตุลาการไปแล้วก็ตาม ในแง่การตีความกฎหมายมาตรา 190 ยังคงเป็นข้อกังขาในความถูกต้องตามหลักวิชาการ อย่างไรก็ตามในการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกปราสาทพระวิหาร นักวิชาการจากฝั่งไทยก็ยังคงเรียกร้องความถูกต้องทางวิชาการอย่างเงียบงัน

 

ในกรณีดังกล่าว นักวิชาการไทย

 

รศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ กล่าวว่า ข้อโต้แย้งทางวิชาการนี้มาจากการนำเสนอหลักฐานของทางกัมพูชาในการนำเสนอที่ ไครซ์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2550 ไม่ตรงกับการนำเสนอหลักฐานที่ ควิเบก พ.ศ.  2551 ข้อมูลทางวิชาการท่จะกล่าวถึงนี้มาจากการสำรวจทางโบราณคดี หลังการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ นิวซีแลนด์ ทางกระทรวงต่างประเทศ (รัฐบาลสุรยุทธ์)ได้มอบหมายให้ทำข้อมูลเพื่อใช้เป็นข้อแย้งตามเงื่อนไขที่ต้องการให้กัมพูชาเจรจากับไทยเรื่องความทับซ้อนในพื้นที่เขาพระวิหารที่ทางกันพูชาขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว และกัมพูชาต้องการหลักฐานว่าไทยรับรอง

 

ทางกรมศิลปากรได้ทำข้อมูลสำเร็จเมื่อปลายปี 2550 ในขณะที่มีการเปลี่นรัฐบาล (นายสมัคร สุนทรเวช) อย่างไรก็ตาม ด้วยระเบียบราชการทำให้ไม่มีการเผยแพร่ ทั้งนี้มีการประชุมหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอีกครั้ง โดยตัวแทนผู้เข้าร่วมประชุมจากกระทรวงการต่างประเทศได้เปลี่ยนคน และเมื่อทางฝ่ายวิชาการนำเสนอ ทางกระทรวงต่างประเทศยืนยันว่าเป้นข้อมูลที่ดี แต่ไม่ต้องรีบนำเสนอ ให้ครบอีก 2 สัปดาห์ ซึ่งผ่านการประชุมมรดกที่ ควิเบก แคนาดา ไปแล้วจึงค่อยนำเสนอ และอีก 2 ปี จึงค่อยนำข้อมูลนี้มาใช้

 

ข้อมูลทางวิชาการที่นำเสนอไปนั้น มีข้อสังเกตว่า ICOMOS สากล (องค์กรที่ปรึกษาทางวิชาการของ UNESSCO) เบี่ยงประเด้นทางวิชาการและใช้คำที่ไม่เป้นกลางที่เป้นประโยชน์แก่ทางกัมพูชา

 

ประการแรก หลักฐานที่กัมพูชาใช้ในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกคือ มีชุมชนในพื้นที่ประเทศกัมพูชาใช้ปราสาทพระวิหารเป็นศูนย์กลางจักรวาล(โบราณ) ซึ่งในความเป้นจริงชุมชนที่กล่าวถึงนั้นเป้นชุมชนสมัยบายน (พุทธศตวรรษที่ 18 นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน) ในขณะที่ปราสาทพระวิหารสร้างขึ้นในสมัยปาปวน ( พ.ศ.1581) และเป็นศานสถานที่สร้างในลัทธิไศวนิกาย มีจารึกที่ระบุว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 มาปกครอง ซึ่งบริเวณนี้เป็นพื้นที่ของกลุ่มคนผิวดำที่เคยก่อกบฎบ่อยๆ เป็นดินแดนนอกเขตพระนครจึงได้สร้างศาสนสถานไว้ให้ภักดีและปกครองได้รุ่นเดียว หลักฐานที่พบล้วนเกี่ยวข้องกับไศวนิกาย ซึ่งเป้นการสร้างศาสนสถานเพื่ออ้างอิงกับเขาพระสุเมรุหรือเขาไกรลาสที่อยู่ของพระศิวะที่สัมพันธ์กับศาสนาฮินดู

 

ในขณะที่ชุมชนที่กล่าวถึงในรายงานของ ICOMOS สากล ระบุว่า ชุมชนในกัมพูชา (สมัยบายน) ใช้เขาพระวิหารเป็นศูยนย์กลางจักรวาล และใช้สระน้ำ รวมทั้งมองไปทางเขาพระวิหารจะเห็นเป้นห้ายอดเหมือนเขพระสุเมรุ อย่างไรก็ตาม โบราณสถานที่พบบริเวณนั้นเป้นสมัยบายนซึ่งสร้างที่หลังและเป็นอโรคยาศาล (ที่รักษาโรค) พื้นที่อาจจะเป็นป่า

 

เมื่อกล่าวถึงความสัมพันืของเขาพระวิหารกับชุมชนโบราณ จากการสำรวจพบศิวลึงค์บนลานหินและมีลำห้วยเล็กๆที่เส้นแบ่งดินแดนชั่วคราวในปัจจุบัน มองจากศิวลึงค์ไปจะเห็นยอดปราสาท ซึ่งในสมัยโบราณจะมีสายน้ำที่ไหลจากปราสาทมาผ่านศิวลึงค์เป้นสายน้ำศักดืสิทธิ์ เหมือนที่พนมกุเลนต้นน้ำเสียมเรียบ (กบาลสเปรียญ มีศิวลึงค์เล็กๆมากมายในลำธาร) มีภาพสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์มากมายในสายน้ำ เป็นสายน้ำศักดิ์สิทธืที่พิธีกรรมสรงน้ำตามธรรมชาติแล้วและไหลไปยังเมืองพระนคร

 

น้ำจากเขาพระวิหารจะไหลไปลงที่สระตราวแหล่งเก็บน้ำไว้สำหรับศาสนสถานและชุมชนที่อยู่รอบๆและชุมชนที่อยู่เบื้องล่าง ( พบหลักฐานบนพื้นที่ราบฝั่งไทยมีชุมชน) สายน้ำที่ผ่านศิวลึงค์คือพิธีกรรมทางศาสนาตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นสายน้ำคือตัวกำหนดได้ว่าผุ้ที่ใช้สายน้ำศักดิ์สิทธิ์คือชุมชนที่สายน้ำไปถึง

 

จากภาพถ่ายทางอากาศจะพบว่าสายน้ำจากสระตราวได้ไหลไปรวมกันที่อ่างเก้บน้ำขนาดใหญ่ ปุจจุบันเรียกโนนหนองกะเจาและบริเวณใกล้เคียง จากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่ามีชุมชนอยู่รอบๆ จากหลักฐานที่พบคือเครื่องถ้วยเป็นแบบเขมรที่ใช้ร่วมสมัยกับปราสาท

 

ทั้งนี้ เมื่อพระเจ้าสุริยวรมันมาปกครองก้ให้เปลี่ยนชื่อเป็นทุ่งกุรุเกษตร สอดคล้องกับความเชื่อในมหากาพย์มหาภารตะตามคตฮินดู

 

ในประเด้นที่เกี่ยวกับบันไดทางขึ้นซึ่งอยู่ด้านเหนือตามการวางตัวของสันเขาสอดคล้องกับชุมชนที่อยู่เบื้องล่างที่ต้องเดินทางขึ้นไปทำพิธีกรรมจากทางด้านหลักนี้ เพราะแนวคิดในการสร้างศาสนสถานบนยอดเขาทางเดินจะมีเสานางเรียง มีการยกระดับเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีโคปุระ มีสะพานนาค แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดในการก่อสร้างว่าเป็นสะพานสายรุ้งที่ทอดผ่านจากโลกมนุษย์ไปสู่สวรรคืคือยอดเขาพระสุเมรุ ดังนั้นทางขึ้นด้านหน้าจึงเป็นทางหลักและแสดงให้เห็นถึงชุมชนที่ใช้เส้นทาง

 

ในจารึกกล่าวถึงชุมชนที่อยู่ที่ราบตามเชิงเขา ส่วนที่ว่ามีเส้นทางขึ้นทางด้านอื่นๆ เช่น ทิศตะวันออก (ขึ้นมาจากเขมรต่ำ) ก็อาจเป้นไปได้ คงใช้สำหรับพวกพราหมณ์หรือข้าทาสที่ขนของสำหรับทำนุบำรุงศาสนสถานหรือใช้สำหรับทำพิธีกรรม หรืออาจจะเป็นเส้นทางที่ตัดใหม่ขึ้นในสมัยหลังสำหรับผู้ขึ้นมาทำพิธีกรรม แต่เส้นทางที่สำคัญคือทางขึ้นด้านหน้าที่ถูกต้องตามประเพณีในกรณีที่มีพิธีกรรมทางศาสนา

 

ดังนั้น การขึ้นทะเบียนเฉพาะปราสาทเท่ากับการตัดขาดระหว่างศาสนสถานกับผู้ใช้ที่อยู่ข้างล่างออก ซึ่งเป้นการเบี่ยงเบนประเด้นและไม่ใช้ข้อมูลวิชาการ นอกจากนี้การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกดลกยังสามารถประกาศขึ้นพร้อมกันได้ กลุ่มชนกลุ่มนี้คือผู้ที่สร้างและเป้นผู้ใช้ศาสนสถานอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นถ้ามีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป้นมรดกโลกเฉพาะส่วนตัวปราสาทจะทำให้ขาดองค์ประกอบสำคัญคือ คน ที่เป็นผู้สร้างและผู้ใช้ศาสนสถานนี้ ไม่ครบตามหลักเกณพืของ UNESSCO ที่ขาดความเป้นของแท้ดั้งเดิม ดังนั้นควรมีการพิจารณาการขึ้นทะเบียนมรดกดลกร่วมกันดดยไม่มีเส้นดินแดนมาแบ่ง ต้องมีการทบทวนเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนมรดกโลกใหม่ว่า ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ คุณค่าความเป็นสากลในแง่ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (outstanding universal value of culture landscape) ความแท้จริงและดั้งเดิมของโบราณสถานนั้นๆ (authenticity) และสุดท้ายต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนของแหล่งโบราณสถาน (integrity)

 

ตามด้วยเหตุนี้ UNESSCO และคณะกรรมการมรดกโลกจึงยังไม่ควรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามข้อเสนอของกัมพุชาฝ่ายเดียว เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาตลอดไป ตัวปราสาทพระวิหารเองก้จะไม่สมบูรณ์เพราะถูกตัดขาดระหว่างศาสนสถานกับคนผู้ใช้ศาสนสถาน ความเป้นมรดกโลกก็ไม่สมบูรณ์ ตามเหตุผลทางวิชาการดังกล่าวข้อเสนอที่ควรพิจารณาเป้นทาออกและเพื่อไม่ให้เกิดกรรีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาคือการขึ้นทะเบียนร่วมกัน จะทำให้เกิดความสมบูรณ์ทั้งตัวปราสาทและผู้ใช้ศาสนสถานแห่งนี้ ซึ่มีตัวอย่างในประวัติมรดกดลกหลายแห่งที่ทำได้ และจะเป้นภาพพจน์อันดีของคณะกรรมการมรดกโลกและองค์การสหประชาชาติที่เป้นองค์กรระหว่างประเทศในการประสานประโยชน์ของชาวดลก ไม่ใช่กระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ก่อให้เกิดความขัดแยงกัน และที่สำคัญคือไม่ควรนำมาใช้เป็นประเด้นทางการเมืองหือแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง ซึ่งจะทำให้คุณค่าและมูลค่าของปราสาทพระวิหารตกต่ำลง (ส่วนที่เน้นความเป้นการเรียบเรียงเพิ่มเติมจาก รศ.ดรซศักดิ์ชัย สายสิงห์.ความเห้นแย้งในกรณีกัมพูชาขอขินทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก.เอกสารประการการนำเสนอในโครงการสนทนาวันศุกร์ : ปราสาทพระวิหาร ความข้อใหม่ทางวิชาการที่กัมพูชาและยูเนสโกขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก 11 ก.ค. 2551 )

 

ภารณี สวัสดิรักษ์ ICOMOS ไทย กล่าวว่า กัมพูชาได้ขอขึ้นทะเบียนเขาพะวิหารฝ่ายเดียวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 และใช้เอกสารเดียวกันนำเสนอในการประชุมคณะรรมการมรดกโลกที่ ไครซ์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ในปี 2550 ที่ประชุมมีมติว่า ต้องเป้นการร่วมมือกันของทั้ง 2 ประเทศ เพราะพรมแดนติดกันเพราะกัมพุชาได้ยื่นทะเบียนขอเป็นแหล่ง จึงต้องมีแผนการบริหารจัดการ่วมกัน และไทยต้องมี Active Support ต่อการยื่นขอของกัมพูชา ซึ่งแผนดังกล่าวต้องทำก่อนมีการประชุมที่ควิเบก ประเทศแคนาดา พ.ศ. 2551

 

ต่อมา ICOMOS ไทยได้ทำเอกสาร 1 ชิ้น โดยให้วามเห้นว่าหากกัมพุชายื่นขอเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวจะทำให้เป้นมรดกโลกที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และได้ทำแผนบริหารจัดการเขาพระวิหารในพื้นที่ประเทศไทย มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมการไว้ในการประชุมที่ ควิเบก มองค์ประกอบชุมชนและประวัติศาสตร์ที่จะทำให้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ไครซ์เชิร์ต

 

 นอกจากนี้ข้าราชการจากไทยและตัวแทน ICOMOS เดินทางไปกัมพูชาเพื่อยื่นร่วมบริหารจัดการ ทางกัมพูชาแสดงท่าทีปฏิเสธในการประชุมที่เสียมเรียบ ทางด้าน ICOMOS สากลส่งผู้เชี่ยวชาญมาประเมิน อย่างไรก้ตาม ทาง ICOMOS ไทยเห้นว่าข้อมูลทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่ผู้เชี่ยวชาญ ICOMOs สากลนำเสนอไม่ถูกต้อง แต่ทำเพื่อให้กัมพูชาสามารถยื่นจดทะเบียนมรดกโลกได้ ซึ่งการเป็นมดกโลกได้ต้องมี outstanding universal value เป็นองค์ความรู้ที่ไม่ควรบิด (ดังที่เสนอไปแล้วโดย รศ.ดร.ศักดิชัย)ทาง ICOMOS ไทยจึงขอถอนตัวอย่างเป็นทางการ และไม่มี Active Support ในเรื่องการทำงานวัฒนธรรมจากฝ่ายไทย และกลับมาทำแผนการบริหารจัดการเฉพาะในพื้นที่ประเทศไทย ดังนั้นจึงเห้นว่าคณะกรรมการมรดกดลกควรชะลอและควรเคารพหลักเกณฑ์ที่ตัวเองตั้งไว้ในการต้องทำงานร่วมกับประเทศไทย

 

นอกจากนี้ ในการนำเสนอข้อมูลทางกัมพูชานำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียวในขณะที่ยังมีพื้นที่ทับซ้อนอยู่จึงควรต้องมองพื้นที่เชื่อมโยง การตีความเนื้อหาทางประวิศาสตร์นั้นทางนักวิชาการไทยมองว่าไม่ถูกต้องเพราะกัมพุชามองว่าเป็นศาสนสถนเกี่ยวกับพุทธ แต่เขาพระวิหารเป้นศาสนสถานในฮินดู จึงเป็นองค์ความรู้ที่ไม่ถูกต้องและจะถูกโต้แย้งในอนาคต

 

อย่างไรก้ตาม การลงนามในแถลงการณ์ร่วมโดยกระทรวงการต่างประเทศก็เกิดขึ้น ซึ่งนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้นได้ลงนามในลักษณะ Active Support ในขณะที่ Activ Support ทางวัฒนธรรมยังไม่เกิดขึ้น นอกจากนี้ นายนพดลยังกล่าวว่าทางกัมพูชาได้ขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท ในขณะที่เอกสารที่กัมพูชายื่นที่ควิเบกนั้นยังเป็นเอกสารเดิที่ยื่นที่ไครซืเชิร์ตซึ่งยื่นขอขึ้นทะเบียนนเป็นแหล่ง และใช้แถลงการณ์ร่วมมาประกอบด้วย และกัมพูชาไม่ได้บอกว่าทาง ICOMOS ไม่ยอมรับการประเมินทางวิชาการ ทั้งหมดจึงเป้นคำถามที่มีต่อ คณะกรรมการมรดกโลกซึ่งกัมพุชาได้อ้าง แถลงการร่วมเป็น Active Support โดยยังไม่มีกาแก้ไขเนื้อหาที่ฝ่ายไทยกังขาซึ่งผิดกติกาข้อมบังคับที่ต้องทำให้ถูกต้องก่อนการพิจารณา และไม่ใช่ว่าคณะกรรมการมรดกดลกจะไม่รับรู้

 

สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปคือเมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนเป้นมรดกดลกแล้ว ทางกัมพูชาจะต้องยื่นแผนการบริหารจัดการ ซึ่งไทยเป็นภาคีและมีความร่วมมือในกาบริหารจัดการ 7 ประเทศ คำถามในอนาคตคือเราจะร่วมมือได้อย่างไรเพราะไม่รู้ว่าพื้นที่จัดการอยู่ตรงไหนบ้าง ความร่วมมือทางวัฒนธรรมก้ยังไม่ได้เห็นชอบ

 

การปฏิเสธการยื่นร่วมเป้นมรดกของไทยถูกคณะกรรมการมรดกโลกปฏิเสธเป้นเรื่อง 2 มาตรฐาน เพราะถูกมองว่าเสียเวลาในการพิจารณา จึงอยากตั้งคำถามว่ามีการเมืองในเรื่องมรดกทางวัฒนะรรมด้วยหรือไม่ และ 7 ประเทศที่จะเข้ามาร่วมบริหารมีเบื้องหลังอย่างไร หากดำเนินการด้วย 7 ประเทศและไทยแพ้ในการโหวตจะเป้นอย่างไร ประเด้นนี้ไม่ใช่มาตร 190 แต่เป้นเรื่องที่รัฐจะต้องให้ข้อมูลต่อประชาชน

 

ดังนั้น การที่ไทยเป้นอนุภาคีมันสามารถตั้งคำถามกัมพุชาได้ ไม่ใช่บอกเหมือนที่นายปองพล อดิเรกสาร บอกแค่เขาให้มาถามว่าจะร่วมหรือไม่ ไม่ใช่การตอบแค่ไทยจะ Say Yes หรือ No แต่ต้องตั้งคำถามต่อความโปร่งใสชัดเจน

 

ในช่วงการรอเวลาการยื่นนำเสนอแผนบริหารจัดการ คิดว่าแผนบริหารจัดการของ ICOMOS ไทย มีน้ำหนักมีข้อมุลทางวิชาการ ซึ่งมีโอกาสในการมีส่วนร่วมในพื้นที่ประเทศไทย ทั้งนี้คำว่า ส่วนร่วม กับ การยื่นเป้นมรดกโลกทีหลัง มีนัยยะต่างกัน เพราะการยื่นทีหลังมันต้องอ้างอิงตัวปราสาทพระวิหารและอาจเป้นนัยยะที่อาจนำไปสู่การเสียเปรียบเรื่องเขตดินแดน และอาจมีการเมืองระหว่างประเทศเข้ามาแทรกแซง ดังนั้น ในการร่วมมือเรามีสิทธิในการตั้งคำถามไม่ใช่แค่การ Say Yes หรือ No ในการประชุมมรดกดลกที่ผ่านมาความเห็นในเรื่องคุณค่าทางวัฒนธรรมไม่ถุกนำเสนอเลย และมรดกดลกจะถูกทำร้ายถ้าเรานำการเมืองมาตัดสินใจ

 

พิสิฐ เจิรญวงศ์

หลายแหล่งมรดกโลกมีปัญหาเพราะมักเรียกอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ (Convention ConCerning the Protection of World Cultural and Natural) กันสั้นๆโดยตัดคำว่า คุ้มครองออกทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นเรียกว่า อนุสัญญมรดกโลก (World Heritae Convention ) ซึ่งรัฐภาคีต้องมีหน้าที่คุ้มครองแหล่งนั้นๆห้านที่สุดเพราะมีคุณค่าสูงและสำคัญต่อมนุษยชาติไม่ใช่ตักตวงผลประโยชน์อย่างที่เข้าใจ และไม่มีข้อไหนในอนุสัญญาบอกว่าทำอะไรก็ได้ แต่พอตัดคำว่า คุ้มครองออกก้จะเอาประโยชน์กันท่าเดียว หลยแหล่งมีปัญหาเพราะใช้เป้นแหล่งท่องเที่ยว

 

ในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกดลกนั้น สิ่งที่รัฐภาคีต้องปฏิบัติเป้นประการแรกคือ การมีส่วนร่วมของประชากรทุกภาคส่วน ต้องส่งเสริมให้ประชาชนชื่นชมและเคารพแหล่งมรดกโลกโดยเฉพาะการให้ความรู้ละการศึกา ขณะเดียวกันรัฐต้องแจ้งให้ประชาชนราบถึงภัยคุกคามมรดกโลกทั้งจากภัยธรรมชาติและน้ำมือมนุษย์ที่ลักลอบทำลาย และต้องมีความรับผิดชอบต่อภาคีสมาชิก

 

แนวปฏิบัติก่อนขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกนั้น จะต้องเตรียมรายชื่อชั่วคราวว่าจะยื่นอะไรบ้าง พร้อมเหตุผล การเตรียมรายชื่อทุกภาคส่วนต้องได้รับการหารือและทำงานร่วมกันตั้งแต่ผู้จัดการแหล่ง หน่วยปกครองส่วนท้องถิ่น ภูมิภาค ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน และกลุ่มองค์กรที่สนใจ และในข้อ 123 ได้เตือนว่าต้องมีคนในท้องถิ่นเข้าร่วมด้วย เหตุผลเพื่อให้คนมีความรู้ในกาทำงานดูแลรักาด้วย อย่างไรก้ตาม ที่ผ่านมาไม่เคยมีประเทศไหนทำเลย ไม่ว่าไทยหรือกัมพูชา และหลายประเทศก็ละเลย

 

ทั้งนี้แม้ว่าอนุสัญญานี้เป็นของ UNESSCO แต่ความจริงแล้วอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการมรดกโลกที่ UNESSCO วางไว้ให้เป็นผู้พิจารณา อนุสัญญานี้เกิดขึ้นในปี 2515 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการขึ้นทะเบียนครั้งแรกใน พ.ศ. 2521 มีมรดกโลก 8 แห่ง ล่าสุดในการประชุมวันที่ 21 ก.ค. 2551 มีมรดกดลก 878 แหล่ง จากประเทศภาคี 185 ประเทศ โดยมี 40 ประเทศไม่มีแหล่งมรดกโลก ส่วนหนึ่งพราะไม่มีใครช่วยศึกาและเตรียมข้อมูลนำเสนอ

 

สำหรับประเทศไทย มีมรดกโลก 5 แหล่ง  เป็นมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรม 3 แหล่งได้แก่

          เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง (ศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชร)

          นครประวัติศาสตร์อยุธยาและเมืองที่เกี่ยวข้อง

          แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

 

มรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แหล่ง ได้แก่

          เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี

          ป่าเขาใหญ่ ดงพญาเย็น

 

ทั้งนี้ การขอเป็นมรดกโลกไม่จำเป้นต้องมีพื้นที่ติดกันก็ได้ บางประเทศ มี 10 ประเทศ ยื่นขอร่วมกัน เช่น สตรูเว่จีโอเคติกอาร์ค หรือเสาสำรวจโบราณ ส่วนกรณีการขอมรดกโลกร่วมกันของไทย กัมพูชานั้น เมื่อไทยยื่นขอเป็นมรดกโลกร่วมกันและกัมพูชาปฏิเสธนั้นปัจจุบันยังไม่มีใครบอกเหตุผลในการปฏิเสะหลังการคุยเมื่อ 1 ปี ก่อนเลย มีการบอกเพียงว่า เขาปฏิเสธ ในขณะที่ในดลกนี้มีพื้นที่ที่จัดการมรดกโลกร่วมกันหลยแหล่งที่ทำได้ เช่น

 

          พื้นที่ในแคมเบีย เซเนกัล ประกาศมรดกโลกร่วมกันโดยมีพื้นที่ทั้งหมดเพียง 350 ตร.กม.

          ธารนำแข็งที่กั้นระหว่าแคนาดาและอเมริกา ที่ยื่นขอเป้นมรดกโลกเพื่อให้เข้าสู่ความร่วมมือในประชากรโลก

          สวนสาธารณะและปราสาท Muskauer Park ในพื้นที่เยอรมันและโปแลนด์

          ทุ่งหญ้าและภูเขาที่รัสเซียและมองโกเลีย