ข้อถกเถียง ต่างความเห็น กรณี ‘พระวิหาร’

ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง  

หลัง รายงาน: มรดกโลก ‘พระวิหาร’ บนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลไทยต้องเสนอให้ยูเนสโกทบทวน เผยแพร่ผ่านประชาไท มีข้อถกเถียงที่น่าสนใจจากสองมุมมองจึงนำมาเผยแพร่ต่อ

 ทั้งนี้ ต้องยอมรับในสิ่งที่ ‘สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล’ ติติงว่า ศาลโลกตัดสิน ว่า “พื้นที่ ที่เป็นที่ตั้งของประสาท เป็นพื้นที่อธิปไตยของกัมพูชา” นั้นถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม ความเห็นส่วนตัวของผม มันยังต้องคิดต่ออยู่ดี อย่างน้อยถ้ายอมรับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ผิดไปจากหลักฐาน ก็คงหมายถึง การยอมรับในการ ‘สร้างเรื่อง’ เพื่อหวังบรรลุเป้าหมายใดๆได้โดยไม่ต้องสนใจอะไร ขอเพียงให้มีเรื่องนั้นเป็นที่ยอมรับก็พอ และนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของการตีความทั้งสิ้น

อ่านเพิ่มเติม

รายงาน : มรดกโลก ‘พระวิหาร’ บนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลไทยต้องเสนอให้ UNESSCO ทบทวน

ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง

แล้วกรณี ‘ปราสาทพระวิหาร’ ก็กลับมากระเพื่อมบนหน้าสื่ออีกครั้ง เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการมรดกโลกให้ทบทวนการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่  16 มิ.ย. ที่ผ่านมา

จุดยืนของรัฐบาลไทยต่อความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดนี้สะท้อนออกมาผ่านการให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรี ว่า ต้องการให้ UNESSCO ทราบว่าสิ่งที่ดำเนินการอยู่นั้นขัดกับระเบียบปฏิบัติและธรรมนูญของ UNESSCO  จึงจะขอให้ทบทวน เพราะที่ผ่านมาเคยเกิดความสูญเสียแล้ว และยิ่งจะกระทบความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ซึ่งการขึ้นทะเบียนร่วมกันจะดีที่สุด โดยจะให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและคณะผู้แทนไทย เดินทางไปชี้แจงในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 33 ระหว่างวันที่ 22-30 มิถุนายนนี้ ที่เมืองเซบีย่า ประเทศสเปน ทั้งนี้ เนื้อหาในหนังสือคัดค้านคือเรื่องการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกในการประชุมที่ควิเบกไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้องในประเด็นมาตรา 11 (3) ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม และข้อบัญญัติที่ 103, 104, 108 ของ Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากความเห็นของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

อ่านเพิ่มเติม

ฝันร้าย ‘สัมปทานโรงโม่’ ทับแหล่งโบราณคดีกระบี่

เมื่อวาน (8 มิ.ย.52) รายการเปิดปม สถานี TPBS นำเรื่อง สัมปทานโรงโม่ทับแหล่งโบราณคดี มาออกอากาศ สุดท้ายเรื่องที่กังวลก็เกิดอย่างซ้ำแล้วซ้ำอีก….ประเทศนี้ไม่สนใจประวัติศาสตร์ ไม่สนใจชีวิตคนร่วมประวัติศาสตร์ และไม่สนใจอะไรเลยนอกจากเงินที่เข้ากระเป๋าคนไม่กี่คน อ่านเพิ่มเติม

วัน ‘แม่’ กับหลากเรื่องราวของแม่

12 สิงหาคม 2551

วันนี้เป็นวันที่ 12 สิงหาคม หรือวันแม่แห่งชาติ เคยเขียนถึงเรื่องนี้ไว้ที่หนึ่งจึงขอย้อนกลับเอาอ่านเก่าๆมาลงอีกครั้ง

 

นวันๆเดียวกันกลับมีเรื่องราวให้เรารับรู้มากมายหลายมิติ เชื่อหรือป่าว มีเรื่องราวจะเล่าให้ฟัง 

แม่แห่งชาติ

 หากลองพลิกไปดูบนหน้าปฏิทิน คงจะสังเกตเห็นตัวเลขสีแดงมากมาย หลายวันในสีแดงนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่บอกว่าวันนั้นเป็นวันสำคัญ แน่นอนว่าเมื่อเห็นความยินดีคงตามมาเพราะจะได้หยุดทำงานหรือหยุดเรียนเป็นพิเศษ แต่ในเชิงคุณค่าและความหมาย เคยลองหันมาตั้งคำถามกับวันสำคัญๆเหล่านั้นว่าแท้จริงแล้วสำคัญเพียงใด…กับใคร ? วันเหล่านั้นหลายวันทีเดียวที่มักมีคำว่า แห่งชาติพ่วงท้าย หากมองกลับไปในคำถาม จะพบอีกว่าวันแห่งชาติเหล่านั้นมักจะวันสำคัญของใครในฐานะปัจเจกบุคคลที่มีฐานะทางสังคมวัฒนธรรมพิเศษเสียมากกว่าที่จะมีความพิเศษในทางสัมพันธ์กับสังคม   อ่านเพิ่มเติม

ปราสาทพระวิหาร :มองจากมุม ‘วิชาการ’ ไม่เกี่ยวกับ ‘ดินแดน’ ปัญหาคือความน่าเชื่อถือของ ‘ยูเนสโก’ และน้ำยากระทรวงต่างประเทศ

ไม่ข้องใจคนกัมพุชา แต่ข้องใจกรรมการมรดกโลก และกระบวนการ ไม่เป็นมรดกโลกก็ได้ เพราะมันเหมือนป้ายเชลล์ชวนชิมเท่านั้น มันเหมือนการยืนยันว่ามีการจัดการที่ดี ซึ่งการจัดการที่ดีไม่ต้องเป็นมรดกโลกก็ได้ แต่วิธีการไม่ตรงไปตรงมา เพราะถ้าตรงไปตรงมา ประเทศเช่นพม่าควรได้มรดกโลกตั้งนานแล้วทำจึงไม่ได้ และอย่าให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อทางการเมืองศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

ถ้าจะจัดการได้ไม่ต้อมีเส้นแดน เพราะมีมรดกหลายประเทถูกคุ้มครองดดยหลายประเทศ แต่พออยู่ที่รัฐพูดเรื่องอธิปไตย แต่เราไม่ได้พูดว่าสิ่งที่เราจะปกปักรักาเป็นสิ่งร่วมกัน ชุมชนก็ไม่เคยได้มีส่วนร่วมเลย พอครอบครองแล้วเขาต้องเสียเงินเข้าไปทั้งที่เมื่อก่อนเขาเข้าไปเคารพบูชาได้ ถ้าหยิบประเด็นดินแดนมาพูดก้ทะเลาะ เพราะอ้างแผนที่คนละฉบับ และเราต้องเข้าใจแผนที่กัมพูชาเพราะเป้นแผนที่ที่เคยใช้ชนะในศาลดลกมาแล้ว ในขณะที่ไทยก้เคยทำสัญญากับฝรั่งเศสจึงเป้นพื้นที่ทับซ้อน ที่กัมพุชาคิดก็ถูก ที่ไทยคิดมันก็ถูก ถ้าเอาการเมืองน้อยลง เอาวิชาการมากขึ้น เอาสติ เอาความรู้ เอาปัญญามาไตร่ตรองก็ไม่มีปัญหาพิสิฐ เจริญวงศ์

 

ดีใจที่ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่มันควรยิ่งใหญ่กว่านี้ คุณค่าควรต้องร่วมกันภารณี สวัสดิรักษ์

 

ความเห็นต่อกรณีเขาพระวิหารหลังการเสวนา

 

 

 

000

 

กรณีเขาพระวิหารยังคงเป็น ความเมืองของสองประเทศที่มีการเมืองภายในอันซับซ้อน และสิ่งที่ถูกนำเสนออย่างต่อเนื่องคือความทับซ้อนในเรื่อง ดินแดนในขณะที่ความเป้นหรือไม่เป็นมรดกโลกนั้นคือเรื่องการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของมนายชาติที่ไม่อาจเอ่ยอ้างความเป้นเจ้าของได้แต่อย่างใด ในขณะเดียวกันสิ่งที่ไม่เคยถูกนำมามองเลยกลับเป้นเรื่องของ วิชาการ

 

แม้ว่ากรณีมรดกโลก จะทำให้ต้องมาถกกันอีกครั้งในแง่ของ ความเมืองเชิง ดินแดนและในแง่กฎหมายที่ทำให้รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศต้องสังเวยสถานการณ์และวิกฤติตุลาการไปแล้วก็ตาม ในแง่การตีความกฎหมายมาตรา 190 ยังคงเป็นข้อกังขาในความถูกต้องตามหลักวิชาการ อย่างไรก็ตามในการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกปราสาทพระวิหาร นักวิชาการจากฝั่งไทยก็ยังคงเรียกร้องความถูกต้องทางวิชาการอย่างเงียบงัน

 

ในกรณีดังกล่าว นักวิชาการไทย

 

รศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ กล่าวว่า ข้อโต้แย้งทางวิชาการนี้มาจากการนำเสนอหลักฐานของทางกัมพูชาในการนำเสนอที่ ไครซ์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2550 ไม่ตรงกับการนำเสนอหลักฐานที่ ควิเบก พ.ศ.  2551 ข้อมูลทางวิชาการท่จะกล่าวถึงนี้มาจากการสำรวจทางโบราณคดี หลังการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ นิวซีแลนด์ ทางกระทรวงต่างประเทศ (รัฐบาลสุรยุทธ์)ได้มอบหมายให้ทำข้อมูลเพื่อใช้เป็นข้อแย้งตามเงื่อนไขที่ต้องการให้กัมพูชาเจรจากับไทยเรื่องความทับซ้อนในพื้นที่เขาพระวิหารที่ทางกันพูชาขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว และกัมพูชาต้องการหลักฐานว่าไทยรับรอง

 

ทางกรมศิลปากรได้ทำข้อมูลสำเร็จเมื่อปลายปี 2550 ในขณะที่มีการเปลี่นรัฐบาล (นายสมัคร สุนทรเวช) อย่างไรก็ตาม ด้วยระเบียบราชการทำให้ไม่มีการเผยแพร่ ทั้งนี้มีการประชุมหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอีกครั้ง โดยตัวแทนผู้เข้าร่วมประชุมจากกระทรวงการต่างประเทศได้เปลี่ยนคน และเมื่อทางฝ่ายวิชาการนำเสนอ ทางกระทรวงต่างประเทศยืนยันว่าเป้นข้อมูลที่ดี แต่ไม่ต้องรีบนำเสนอ ให้ครบอีก 2 สัปดาห์ ซึ่งผ่านการประชุมมรดกที่ ควิเบก แคนาดา ไปแล้วจึงค่อยนำเสนอ และอีก 2 ปี จึงค่อยนำข้อมูลนี้มาใช้

 

ข้อมูลทางวิชาการที่นำเสนอไปนั้น มีข้อสังเกตว่า ICOMOS สากล (องค์กรที่ปรึกษาทางวิชาการของ UNESSCO) เบี่ยงประเด้นทางวิชาการและใช้คำที่ไม่เป้นกลางที่เป้นประโยชน์แก่ทางกัมพูชา

 

ประการแรก หลักฐานที่กัมพูชาใช้ในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกคือ มีชุมชนในพื้นที่ประเทศกัมพูชาใช้ปราสาทพระวิหารเป็นศูนย์กลางจักรวาล(โบราณ) ซึ่งในความเป้นจริงชุมชนที่กล่าวถึงนั้นเป้นชุมชนสมัยบายน (พุทธศตวรรษที่ 18 นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน) ในขณะที่ปราสาทพระวิหารสร้างขึ้นในสมัยปาปวน ( พ.ศ.1581) และเป็นศานสถานที่สร้างในลัทธิไศวนิกาย มีจารึกที่ระบุว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 มาปกครอง ซึ่งบริเวณนี้เป็นพื้นที่ของกลุ่มคนผิวดำที่เคยก่อกบฎบ่อยๆ เป็นดินแดนนอกเขตพระนครจึงได้สร้างศาสนสถานไว้ให้ภักดีและปกครองได้รุ่นเดียว หลักฐานที่พบล้วนเกี่ยวข้องกับไศวนิกาย ซึ่งเป้นการสร้างศาสนสถานเพื่ออ้างอิงกับเขาพระสุเมรุหรือเขาไกรลาสที่อยู่ของพระศิวะที่สัมพันธ์กับศาสนาฮินดู

 

ในขณะที่ชุมชนที่กล่าวถึงในรายงานของ ICOMOS สากล ระบุว่า ชุมชนในกัมพูชา (สมัยบายน) ใช้เขาพระวิหารเป็นศูยนย์กลางจักรวาล และใช้สระน้ำ รวมทั้งมองไปทางเขาพระวิหารจะเห็นเป้นห้ายอดเหมือนเขพระสุเมรุ อย่างไรก็ตาม โบราณสถานที่พบบริเวณนั้นเป้นสมัยบายนซึ่งสร้างที่หลังและเป็นอโรคยาศาล (ที่รักษาโรค) พื้นที่อาจจะเป็นป่า

 

เมื่อกล่าวถึงความสัมพันืของเขาพระวิหารกับชุมชนโบราณ จากการสำรวจพบศิวลึงค์บนลานหินและมีลำห้วยเล็กๆที่เส้นแบ่งดินแดนชั่วคราวในปัจจุบัน มองจากศิวลึงค์ไปจะเห็นยอดปราสาท ซึ่งในสมัยโบราณจะมีสายน้ำที่ไหลจากปราสาทมาผ่านศิวลึงค์เป้นสายน้ำศักดืสิทธิ์ เหมือนที่พนมกุเลนต้นน้ำเสียมเรียบ (กบาลสเปรียญ มีศิวลึงค์เล็กๆมากมายในลำธาร) มีภาพสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์มากมายในสายน้ำ เป็นสายน้ำศักดิ์สิทธืที่พิธีกรรมสรงน้ำตามธรรมชาติแล้วและไหลไปยังเมืองพระนคร

 

น้ำจากเขาพระวิหารจะไหลไปลงที่สระตราวแหล่งเก็บน้ำไว้สำหรับศาสนสถานและชุมชนที่อยู่รอบๆและชุมชนที่อยู่เบื้องล่าง ( พบหลักฐานบนพื้นที่ราบฝั่งไทยมีชุมชน) สายน้ำที่ผ่านศิวลึงค์คือพิธีกรรมทางศาสนาตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นสายน้ำคือตัวกำหนดได้ว่าผุ้ที่ใช้สายน้ำศักดิ์สิทธิ์คือชุมชนที่สายน้ำไปถึง

 

จากภาพถ่ายทางอากาศจะพบว่าสายน้ำจากสระตราวได้ไหลไปรวมกันที่อ่างเก้บน้ำขนาดใหญ่ ปุจจุบันเรียกโนนหนองกะเจาและบริเวณใกล้เคียง จากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่ามีชุมชนอยู่รอบๆ จากหลักฐานที่พบคือเครื่องถ้วยเป็นแบบเขมรที่ใช้ร่วมสมัยกับปราสาท

 

ทั้งนี้ เมื่อพระเจ้าสุริยวรมันมาปกครองก้ให้เปลี่ยนชื่อเป็นทุ่งกุรุเกษตร สอดคล้องกับความเชื่อในมหากาพย์มหาภารตะตามคตฮินดู

 

ในประเด้นที่เกี่ยวกับบันไดทางขึ้นซึ่งอยู่ด้านเหนือตามการวางตัวของสันเขาสอดคล้องกับชุมชนที่อยู่เบื้องล่างที่ต้องเดินทางขึ้นไปทำพิธีกรรมจากทางด้านหลักนี้ เพราะแนวคิดในการสร้างศาสนสถานบนยอดเขาทางเดินจะมีเสานางเรียง มีการยกระดับเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีโคปุระ มีสะพานนาค แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดในการก่อสร้างว่าเป็นสะพานสายรุ้งที่ทอดผ่านจากโลกมนุษย์ไปสู่สวรรคืคือยอดเขาพระสุเมรุ ดังนั้นทางขึ้นด้านหน้าจึงเป็นทางหลักและแสดงให้เห็นถึงชุมชนที่ใช้เส้นทาง

 

ในจารึกกล่าวถึงชุมชนที่อยู่ที่ราบตามเชิงเขา ส่วนที่ว่ามีเส้นทางขึ้นทางด้านอื่นๆ เช่น ทิศตะวันออก (ขึ้นมาจากเขมรต่ำ) ก็อาจเป้นไปได้ คงใช้สำหรับพวกพราหมณ์หรือข้าทาสที่ขนของสำหรับทำนุบำรุงศาสนสถานหรือใช้สำหรับทำพิธีกรรม หรืออาจจะเป็นเส้นทางที่ตัดใหม่ขึ้นในสมัยหลังสำหรับผู้ขึ้นมาทำพิธีกรรม แต่เส้นทางที่สำคัญคือทางขึ้นด้านหน้าที่ถูกต้องตามประเพณีในกรณีที่มีพิธีกรรมทางศาสนา

 

ดังนั้น การขึ้นทะเบียนเฉพาะปราสาทเท่ากับการตัดขาดระหว่างศาสนสถานกับผู้ใช้ที่อยู่ข้างล่างออก ซึ่งเป้นการเบี่ยงเบนประเด้นและไม่ใช้ข้อมูลวิชาการ นอกจากนี้การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกดลกยังสามารถประกาศขึ้นพร้อมกันได้ กลุ่มชนกลุ่มนี้คือผู้ที่สร้างและเป้นผู้ใช้ศาสนสถานอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นถ้ามีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป้นมรดกโลกเฉพาะส่วนตัวปราสาทจะทำให้ขาดองค์ประกอบสำคัญคือ คน ที่เป็นผู้สร้างและผู้ใช้ศาสนสถานนี้ ไม่ครบตามหลักเกณพืของ UNESSCO ที่ขาดความเป้นของแท้ดั้งเดิม ดังนั้นควรมีการพิจารณาการขึ้นทะเบียนมรดกดลกร่วมกันดดยไม่มีเส้นดินแดนมาแบ่ง ต้องมีการทบทวนเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนมรดกโลกใหม่ว่า ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ คุณค่าความเป็นสากลในแง่ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (outstanding universal value of culture landscape) ความแท้จริงและดั้งเดิมของโบราณสถานนั้นๆ (authenticity) และสุดท้ายต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนของแหล่งโบราณสถาน (integrity)

 

ตามด้วยเหตุนี้ UNESSCO และคณะกรรมการมรดกโลกจึงยังไม่ควรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามข้อเสนอของกัมพุชาฝ่ายเดียว เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาตลอดไป ตัวปราสาทพระวิหารเองก้จะไม่สมบูรณ์เพราะถูกตัดขาดระหว่างศาสนสถานกับคนผู้ใช้ศาสนสถาน ความเป้นมรดกโลกก็ไม่สมบูรณ์ ตามเหตุผลทางวิชาการดังกล่าวข้อเสนอที่ควรพิจารณาเป้นทาออกและเพื่อไม่ให้เกิดกรรีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาคือการขึ้นทะเบียนร่วมกัน จะทำให้เกิดความสมบูรณ์ทั้งตัวปราสาทและผู้ใช้ศาสนสถานแห่งนี้ ซึ่มีตัวอย่างในประวัติมรดกดลกหลายแห่งที่ทำได้ และจะเป้นภาพพจน์อันดีของคณะกรรมการมรดกโลกและองค์การสหประชาชาติที่เป้นองค์กรระหว่างประเทศในการประสานประโยชน์ของชาวดลก ไม่ใช่กระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ก่อให้เกิดความขัดแยงกัน และที่สำคัญคือไม่ควรนำมาใช้เป็นประเด้นทางการเมืองหือแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง ซึ่งจะทำให้คุณค่าและมูลค่าของปราสาทพระวิหารตกต่ำลง (ส่วนที่เน้นความเป้นการเรียบเรียงเพิ่มเติมจาก รศ.ดรซศักดิ์ชัย สายสิงห์.ความเห้นแย้งในกรณีกัมพูชาขอขินทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก.เอกสารประการการนำเสนอในโครงการสนทนาวันศุกร์ : ปราสาทพระวิหาร ความข้อใหม่ทางวิชาการที่กัมพูชาและยูเนสโกขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก 11 ก.ค. 2551 )

 

ภารณี สวัสดิรักษ์ ICOMOS ไทย กล่าวว่า กัมพูชาได้ขอขึ้นทะเบียนเขาพะวิหารฝ่ายเดียวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 และใช้เอกสารเดียวกันนำเสนอในการประชุมคณะรรมการมรดกโลกที่ ไครซ์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ในปี 2550 ที่ประชุมมีมติว่า ต้องเป้นการร่วมมือกันของทั้ง 2 ประเทศ เพราะพรมแดนติดกันเพราะกัมพุชาได้ยื่นทะเบียนขอเป็นแหล่ง จึงต้องมีแผนการบริหารจัดการ่วมกัน และไทยต้องมี Active Support ต่อการยื่นขอของกัมพูชา ซึ่งแผนดังกล่าวต้องทำก่อนมีการประชุมที่ควิเบก ประเทศแคนาดา พ.ศ. 2551

 

ต่อมา ICOMOS ไทยได้ทำเอกสาร 1 ชิ้น โดยให้วามเห้นว่าหากกัมพุชายื่นขอเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวจะทำให้เป้นมรดกโลกที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และได้ทำแผนบริหารจัดการเขาพระวิหารในพื้นที่ประเทศไทย มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมการไว้ในการประชุมที่ ควิเบก มองค์ประกอบชุมชนและประวัติศาสตร์ที่จะทำให้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ไครซ์เชิร์ต

 

 นอกจากนี้ข้าราชการจากไทยและตัวแทน ICOMOS เดินทางไปกัมพูชาเพื่อยื่นร่วมบริหารจัดการ ทางกัมพูชาแสดงท่าทีปฏิเสธในการประชุมที่เสียมเรียบ ทางด้าน ICOMOS สากลส่งผู้เชี่ยวชาญมาประเมิน อย่างไรก้ตาม ทาง ICOMOS ไทยเห้นว่าข้อมูลทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่ผู้เชี่ยวชาญ ICOMOs สากลนำเสนอไม่ถูกต้อง แต่ทำเพื่อให้กัมพูชาสามารถยื่นจดทะเบียนมรดกโลกได้ ซึ่งการเป็นมดกโลกได้ต้องมี outstanding universal value เป็นองค์ความรู้ที่ไม่ควรบิด (ดังที่เสนอไปแล้วโดย รศ.ดร.ศักดิชัย)ทาง ICOMOS ไทยจึงขอถอนตัวอย่างเป็นทางการ และไม่มี Active Support ในเรื่องการทำงานวัฒนธรรมจากฝ่ายไทย และกลับมาทำแผนการบริหารจัดการเฉพาะในพื้นที่ประเทศไทย ดังนั้นจึงเห้นว่าคณะกรรมการมรดกดลกควรชะลอและควรเคารพหลักเกณฑ์ที่ตัวเองตั้งไว้ในการต้องทำงานร่วมกับประเทศไทย

 

นอกจากนี้ ในการนำเสนอข้อมูลทางกัมพูชานำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียวในขณะที่ยังมีพื้นที่ทับซ้อนอยู่จึงควรต้องมองพื้นที่เชื่อมโยง การตีความเนื้อหาทางประวิศาสตร์นั้นทางนักวิชาการไทยมองว่าไม่ถูกต้องเพราะกัมพุชามองว่าเป็นศาสนสถนเกี่ยวกับพุทธ แต่เขาพระวิหารเป้นศาสนสถานในฮินดู จึงเป็นองค์ความรู้ที่ไม่ถูกต้องและจะถูกโต้แย้งในอนาคต

 

อย่างไรก้ตาม การลงนามในแถลงการณ์ร่วมโดยกระทรวงการต่างประเทศก็เกิดขึ้น ซึ่งนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้นได้ลงนามในลักษณะ Active Support ในขณะที่ Activ Support ทางวัฒนธรรมยังไม่เกิดขึ้น นอกจากนี้ นายนพดลยังกล่าวว่าทางกัมพูชาได้ขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท ในขณะที่เอกสารที่กัมพูชายื่นที่ควิเบกนั้นยังเป็นเอกสารเดิที่ยื่นที่ไครซืเชิร์ตซึ่งยื่นขอขึ้นทะเบียนนเป็นแหล่ง และใช้แถลงการณ์ร่วมมาประกอบด้วย และกัมพูชาไม่ได้บอกว่าทาง ICOMOS ไม่ยอมรับการประเมินทางวิชาการ ทั้งหมดจึงเป้นคำถามที่มีต่อ คณะกรรมการมรดกโลกซึ่งกัมพุชาได้อ้าง แถลงการร่วมเป็น Active Support โดยยังไม่มีกาแก้ไขเนื้อหาที่ฝ่ายไทยกังขาซึ่งผิดกติกาข้อมบังคับที่ต้องทำให้ถูกต้องก่อนการพิจารณา และไม่ใช่ว่าคณะกรรมการมรดกดลกจะไม่รับรู้

 

สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปคือเมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนเป้นมรดกดลกแล้ว ทางกัมพูชาจะต้องยื่นแผนการบริหารจัดการ ซึ่งไทยเป็นภาคีและมีความร่วมมือในกาบริหารจัดการ 7 ประเทศ คำถามในอนาคตคือเราจะร่วมมือได้อย่างไรเพราะไม่รู้ว่าพื้นที่จัดการอยู่ตรงไหนบ้าง ความร่วมมือทางวัฒนธรรมก้ยังไม่ได้เห็นชอบ

 

การปฏิเสธการยื่นร่วมเป้นมรดกของไทยถูกคณะกรรมการมรดกโลกปฏิเสธเป้นเรื่อง 2 มาตรฐาน เพราะถูกมองว่าเสียเวลาในการพิจารณา จึงอยากตั้งคำถามว่ามีการเมืองในเรื่องมรดกทางวัฒนะรรมด้วยหรือไม่ และ 7 ประเทศที่จะเข้ามาร่วมบริหารมีเบื้องหลังอย่างไร หากดำเนินการด้วย 7 ประเทศและไทยแพ้ในการโหวตจะเป้นอย่างไร ประเด้นนี้ไม่ใช่มาตร 190 แต่เป้นเรื่องที่รัฐจะต้องให้ข้อมูลต่อประชาชน

 

ดังนั้น การที่ไทยเป้นอนุภาคีมันสามารถตั้งคำถามกัมพุชาได้ ไม่ใช่บอกเหมือนที่นายปองพล อดิเรกสาร บอกแค่เขาให้มาถามว่าจะร่วมหรือไม่ ไม่ใช่การตอบแค่ไทยจะ Say Yes หรือ No แต่ต้องตั้งคำถามต่อความโปร่งใสชัดเจน

 

ในช่วงการรอเวลาการยื่นนำเสนอแผนบริหารจัดการ คิดว่าแผนบริหารจัดการของ ICOMOS ไทย มีน้ำหนักมีข้อมุลทางวิชาการ ซึ่งมีโอกาสในการมีส่วนร่วมในพื้นที่ประเทศไทย ทั้งนี้คำว่า ส่วนร่วม กับ การยื่นเป้นมรดกโลกทีหลัง มีนัยยะต่างกัน เพราะการยื่นทีหลังมันต้องอ้างอิงตัวปราสาทพระวิหารและอาจเป้นนัยยะที่อาจนำไปสู่การเสียเปรียบเรื่องเขตดินแดน และอาจมีการเมืองระหว่างประเทศเข้ามาแทรกแซง ดังนั้น ในการร่วมมือเรามีสิทธิในการตั้งคำถามไม่ใช่แค่การ Say Yes หรือ No ในการประชุมมรดกดลกที่ผ่านมาความเห็นในเรื่องคุณค่าทางวัฒนธรรมไม่ถุกนำเสนอเลย และมรดกดลกจะถูกทำร้ายถ้าเรานำการเมืองมาตัดสินใจ

 

พิสิฐ เจิรญวงศ์

หลายแหล่งมรดกโลกมีปัญหาเพราะมักเรียกอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ (Convention ConCerning the Protection of World Cultural and Natural) กันสั้นๆโดยตัดคำว่า คุ้มครองออกทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นเรียกว่า อนุสัญญมรดกโลก (World Heritae Convention ) ซึ่งรัฐภาคีต้องมีหน้าที่คุ้มครองแหล่งนั้นๆห้านที่สุดเพราะมีคุณค่าสูงและสำคัญต่อมนุษยชาติไม่ใช่ตักตวงผลประโยชน์อย่างที่เข้าใจ และไม่มีข้อไหนในอนุสัญญาบอกว่าทำอะไรก็ได้ แต่พอตัดคำว่า คุ้มครองออกก้จะเอาประโยชน์กันท่าเดียว หลยแหล่งมีปัญหาเพราะใช้เป้นแหล่งท่องเที่ยว

 

ในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกดลกนั้น สิ่งที่รัฐภาคีต้องปฏิบัติเป้นประการแรกคือ การมีส่วนร่วมของประชากรทุกภาคส่วน ต้องส่งเสริมให้ประชาชนชื่นชมและเคารพแหล่งมรดกโลกโดยเฉพาะการให้ความรู้ละการศึกา ขณะเดียวกันรัฐต้องแจ้งให้ประชาชนราบถึงภัยคุกคามมรดกโลกทั้งจากภัยธรรมชาติและน้ำมือมนุษย์ที่ลักลอบทำลาย และต้องมีความรับผิดชอบต่อภาคีสมาชิก

 

แนวปฏิบัติก่อนขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกนั้น จะต้องเตรียมรายชื่อชั่วคราวว่าจะยื่นอะไรบ้าง พร้อมเหตุผล การเตรียมรายชื่อทุกภาคส่วนต้องได้รับการหารือและทำงานร่วมกันตั้งแต่ผู้จัดการแหล่ง หน่วยปกครองส่วนท้องถิ่น ภูมิภาค ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน และกลุ่มองค์กรที่สนใจ และในข้อ 123 ได้เตือนว่าต้องมีคนในท้องถิ่นเข้าร่วมด้วย เหตุผลเพื่อให้คนมีความรู้ในกาทำงานดูแลรักาด้วย อย่างไรก้ตาม ที่ผ่านมาไม่เคยมีประเทศไหนทำเลย ไม่ว่าไทยหรือกัมพูชา และหลายประเทศก็ละเลย

 

ทั้งนี้แม้ว่าอนุสัญญานี้เป็นของ UNESSCO แต่ความจริงแล้วอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการมรดกโลกที่ UNESSCO วางไว้ให้เป็นผู้พิจารณา อนุสัญญานี้เกิดขึ้นในปี 2515 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการขึ้นทะเบียนครั้งแรกใน พ.ศ. 2521 มีมรดกโลก 8 แห่ง ล่าสุดในการประชุมวันที่ 21 ก.ค. 2551 มีมรดกดลก 878 แหล่ง จากประเทศภาคี 185 ประเทศ โดยมี 40 ประเทศไม่มีแหล่งมรดกโลก ส่วนหนึ่งพราะไม่มีใครช่วยศึกาและเตรียมข้อมูลนำเสนอ

 

สำหรับประเทศไทย มีมรดกโลก 5 แหล่ง  เป็นมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรม 3 แหล่งได้แก่

          เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง (ศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชร)

          นครประวัติศาสตร์อยุธยาและเมืองที่เกี่ยวข้อง

          แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

 

มรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แหล่ง ได้แก่

          เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี

          ป่าเขาใหญ่ ดงพญาเย็น

 

ทั้งนี้ การขอเป็นมรดกโลกไม่จำเป้นต้องมีพื้นที่ติดกันก็ได้ บางประเทศ มี 10 ประเทศ ยื่นขอร่วมกัน เช่น สตรูเว่จีโอเคติกอาร์ค หรือเสาสำรวจโบราณ ส่วนกรณีการขอมรดกโลกร่วมกันของไทย กัมพูชานั้น เมื่อไทยยื่นขอเป็นมรดกโลกร่วมกันและกัมพูชาปฏิเสธนั้นปัจจุบันยังไม่มีใครบอกเหตุผลในการปฏิเสะหลังการคุยเมื่อ 1 ปี ก่อนเลย มีการบอกเพียงว่า เขาปฏิเสธ ในขณะที่ในดลกนี้มีพื้นที่ที่จัดการมรดกโลกร่วมกันหลยแหล่งที่ทำได้ เช่น

 

          พื้นที่ในแคมเบีย เซเนกัล ประกาศมรดกโลกร่วมกันโดยมีพื้นที่ทั้งหมดเพียง 350 ตร.กม.

          ธารนำแข็งที่กั้นระหว่าแคนาดาและอเมริกา ที่ยื่นขอเป้นมรดกโลกเพื่อให้เข้าสู่ความร่วมมือในประชากรโลก

          สวนสาธารณะและปราสาท Muskauer Park ในพื้นที่เยอรมันและโปแลนด์

          ทุ่งหญ้าและภูเขาที่รัสเซียและมองโกเลีย

 

ย้อนรอย ‘ดาวสยาม’ สื่อเพื่อ ‘ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ’ กับกรณีปล่อยผีดูดเลือด 6 ตุลา 2519

26 พ.ค. 51

 

ไม่คิดว่าจะต้องรำลึกถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 กันตั้งแต่เดือนพฤษภาคมของปีนี้ เพราะเดือนพฤษภาคมก็มีประวัติศาสตร์บาดแผลจากเหตุการณ์ พ.ศ. 2535 ที่ต้องรำลึกกันอยู่แล้ว แต่ด้วยบรรยากาศทางสังคมที่เป็นอยู่ คนร่วมสมัยนั้นหรือผู้ที่ศึกษาเรื่องราวในปี 2519 ค่อนข้างกังวลกันมากว่ามันคล้ายกับบรรยากาศใน พ.ศ. 2519 ที่มีความล่อแหลมทางสถานการณ์และกลิ่นคาวเลือดอย่างยิ่ง โดยเฉพาะปรากฏการณ์การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนบางองค์กรที่สร้างภาพลักษณ์ของตัวเองให้ อนุรักษ์นิยมตกโลก และทำหน้าที่นักปลุกระดม เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์แบบเดียวกับสื่อมวลชนกลุ่มหนึ่งใน พ.ศ. 2519 เคยทำหน้าที่นี้ด้วยการจัดผู้ที่มีความคิดเห็นต่างไปวางไว้ในฝ่ายที่ต้องจี้ให้รัฐปราบปราม วิธีการที่ไม่ปรับปรุงเลยแม้จะล่วงผ่านเวลามากว่า 30 ปีแล้วก็คือการแปะยี่ห้อบนหน้าผากอีกฝ่ายไว้ก่อนว่า ผู้ล้มล้างสถาบันเพราะสามารถสร้างกระแสอารมณ์ทางสังคมให้จัดการคนเหล่านี้ได้อย่างไม่เลือกวิธีใช้และอาจจะไม่บาปด้วย

 

หากพูดถึงการกระทำอันป่าเถื่อน โหดเหี้ยมและไร้มนุษยธรรมที่สุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในประเทศไทย จะต้องถูกนับไว้ในนั้นด้วยและชนวนเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความป่าเถื่อนในครั้งนั้นก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนโดยเฉพาะการนำเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ชื่อ ดาวสยาม

 

หนังสือพิมพ์ ดาวสยาม เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีหัวชื่อหนังสือสีส้ม แต่สำหรับนักศึกษาในยุค 2519 เรียกว่า กระดาษเปื้อนหมึกสีส้ม มีสัญลักษณ์เป็นรูปปลาดาวสีขาวเปล่งรัศมี 32 แฉกภายในวงกลม โดยมีตัวพิมพ์สีดำว่า ดาวอยู่ตรงกลาง บรรทัดถัดไปเป็นคำขวัญ หนังสือพิมพ์เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2517 แต่มามีบทบาทครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ในวันที่ 4,5 และ 6 ตุลาคม 2519 และอาจเป็นไอด้อลของสื่อมวลชนไทยหลายฉบับในขณะนี้

 

โดมิโนสังคมนิยม  2519 ‘ความกลัว

วันที่ 6 ตุลาคม 2519 เกิดกรณีสังหารหมู่นักศึกษาและประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 39 คน และบาดเจ็บ 145 คน [1] (แต่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันบอกว่ามีคนตายเพียง 1 คนเท่านั้น) สิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดคือการนองเลือดครั้งนี้ไม่มีการจับกุมฆาตกรผู้สังหารเลยแม้แต่คนเดียว ในทางตรงข้ามนักศึกษาและประชาชนที่เหลือรอดจากการถูกสังหารจำนวน 3,094 คน กลับถูกจับกุมทั้งหมดในวันนั้นเอง [2] ต่อมามี 27 คนถูกอายัดตัวเพื่อดำเนินคดี สุดท้ายตกเป็นจำเลย 19 คน ถูกคุมขังและดำเนินคดีเกือบ 2 ปี

 

เหตุการณ์เดินมาถึงการสังหารหมู่อย่างเลือดเย็นโดยประชาชนด้วยกันเองและรัฐในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้อย่างไร คงต้องย้อนกลับไปมองกันตั้งแต่กรณี 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งนักศึกษาและประชาชนได้ลุกขึ้นมารวมตัวเรียกร้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร ที่สืบทอดอำนาจกันเรื่อยมาตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐได้ ระบอบนี้ดำเนินต่อเนื่องถึง 16 ปี จนมาถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เมื่อมีการรวมตัวกันของประชาชนดังกล่าวก็สามารถกดดันจนจอมพลถนอม กิตติขจร ต้องประกาศลาออกจากนายกรัฐมนตรี และเดินทางออกนอกประเทศ

 

ชัยชนะของ 14 ตุลาคม 2516 ทำให้การผูกขาดความคิดโดยรัฐพังทลายลง สังคมไทยมีเสรีภาพทางความคิดเต็มที่ ความรู้ ความคิดแบบสังคมนิยมที่เคยเป็นสิ่งต้องห้ามจึงได้รับความสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกระแสการตื่นตัวของประชาชนที่สนใจในเรื่องความรู้เกี่ยวกับจีนอย่างจริงจัง หัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่ทำให้ความคิดสังคมนิยมเป็นที่สนใจมากขึ้นคือ นิทรรศการจีนแดงจัดโดยองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2517 ซึ่งมีทั้งประวัติบุคคลสำคัญลัทธิคอมมิวนิสต์ ความรู้เรื่องราวเกี่ยวกับจีน การเมือง การศึกษา เศรษฐกิจและฉายภาพยนตร์ที่มาจากจีนคอมมิวนิสต์ด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เรื่องราวเกี่ยวกับจีนเผยแพร่ต่อสาธารณะชนในมุมที่หลากหลายอย่างกว้างขวาง [3]

 

นอกจากนี้ มีหนังสือแนวสังคมนิยมตีพิมพ์ออกมาอีกหลายเล่ม เช่น ศิลปะปฏิวัติ ซึ่งเป็นหนังสือแสดงภาพปั้นชาวนาของจีน (ถูกสันติบาลสั่งเก็บเป็นเล่มแรกในปี 2518 เพราะทางกรมตำรวจได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นหนังสือที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้) หนังสือคำประกาศแห่งความเสมอภาค ของ คาร์ลมาร์กซและเฟรเดอริก เองเกลส์  วิวัฒนาการของสังคม ของ สุพจน์ ด่านตระกูล หนังสือโฉมหน้าศักดินาไทย ของ จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งทำสถิติหนังสือขายดี และอีกเล่มหนึ่งซึ่งขายดีเช่นกันคือ ศิลปเพื่อชีวิต ศิลปเพื่อประชาชน

 

เรื่องราวที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งในยุคนั้นเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างเสมอจากประชาชนเสมอและถูกตีพิมพ์อย่างมากในปี 2517 คือ กรณีสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีการพิมพ์เรื่อง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ของ สุพจน์ ด่านตระกูล กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489 ของ สรรใจ แสงวิเชียร และ วมลพรรณ ปีตธวัชชัย ส่วนเล่มสำคัญในกรณีนี้คือ กงจักรปีศาจ ซึ่ง ร.อ.ชลิต ชัยสิทธิเวช แปลจาก The Devil’s Discus ของ Rayne Kruger

 

บรรยากาศช่วงนี้อาจเรียกว่าเป็นบรรยากาศช่วง ดอกไม้ร้อยเบ่งบานซึ่งต่อเนื่องไป จนถึงปี 2518 การเผยแพร่ของหนังสือเหล่านี้ถือได้ว่านำมาซึ่งการปฏิวัติภูมิปัญญาของสังคมไทย ทำให้นักศึกษาปัญญาชนจำนวนมากหลุดจากรอบความคิดแบบเก่าสู่โครงสร้างทางความคิดแบบใหม่ คือ สังคมนิยม การที่แนวคิดของสังคมนิยมเป็นที่ยอมรับส่วนหนึ่งเพราะทฤษฎีมาร์กซสามารถวิเคราะห์สังคมเก่าได้อย่างมีพลัง [4] และเสนอทางออกได้ชัดเจนว่า สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่มีชนชั้น มีการกดขี่ขูดรีดเอาเปรียบกัน

 

เพื่อรักษาการขูดรีดนั้น ชนชั้นปกครองจะสร้างรัฐขึ้นมาปกป้องอำนาจตน และสร้างศาสนาและวัฒนธรรมขึ้นมอมเมาประชาชน แต่สาระสำคัญที่ชนชั้นปกครองต้องรักษาไว้คือการขูดรีดทางเศรษฐกิจ แต่ปรัชญาสังคมนิยม มนุษย์เป็นผู้สร้างสังคมของตนเอง ดังนั้น ชนชั้นชาวนาและกรรมกรจึงสามารถกำหนดอนาคตของตนเองได้โดยรวมพลังกันปฏิวัติเพื่อโค่นล้มสังคมที่กดขี่ลง แล้วสร้างสังคมใหม่ของชนชั้นกรรมาชีพที่มนุษย์จะมีความเสมอภาคไม่มีการขูดรีดกัน

 

เหตุเหล่านี้ทำให้อุดมการณ์สังคมนิยมค่อยๆกลายเป็นอุดมการณ์ของขบวนการนักศึกษาไทย (มีแกนกลางอยู่ที่ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย มีบทบาทสูงมากตั้งแต่ก่อน 14 ตุลาคม 2516) เป็นอาวุธที่ใช้วิพากษ์ชนชั้นและวิเคราะห์สังคม ว่าเป็นสังคมชนชั้น กดขี่ขูดรีด ชนชั้นปกครองสมคบกับจักรวรรดินิยมอเมริกา หนทางแก้ไขจะต้องปฏิวัติประเทศไปสู่สังคมนิยม โค่นล้มทุนนิยม ขุนศึก และศักดินา

 

การเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นแรงกระตุกที่ทำให้ทั้งผู้ปกครอง ศักดินา และพรรคการเมืองชนชั้นนายทุนเริ่มเกิดความหวาดระแวงต่อแนวทางแบบสังคมนิยม เริ่มมีการกล่าวถึงอีกฝ่ายอย่างแยกขั้ว เช่น พรรคสังคมนิยม 3 พรรคที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นถูกกล่าวหาว่าได้รับเงินจาก เคจีบี. แห่งสหภาพโซเวียต ขายชาติให้เวียดนาม หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นต้น

 

ปฏิกริยาสะท้อนกลับของฝ่ายรัฐยังรวมไปถึงการใช้ความรุนแรงด้วย โดยมีกรณีสำคัญก่อนหน้าเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หลายครั้ง ครั้งสำคัญคือ กรณีการเผาหมู่บ้านนาทราย อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ในวันที่ 24 มกราคม 2517 ทางราชการอ้างว่าผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เป็นผู้เผา แต่เมื่อนายธียุทธ บุญมี ได้นำนายลม กาญจนสาร ผู้ใหญ่บ้านนาทรายมาเปิดเผยเรื่องราวว่า แท้จริงแล้วเจ้าหน้าที่เป็นผู้เผา ปิดล้อมหมู่บ้านและสังหารชาวบ้านตาย 3 คน ในที่สุดผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายต้องยอมรับว่าเจ้าหน้าที่เป็นผู้เผา วันที่ 28กุมภาพันธ์ 2517 พล.ท.สายหยุด เกิดผล ผู้อำนวยการป้องกันและปราบปรามภัยคอมมิวนิสต์ ยอมรับว่าเหตุการที่บ้านนาทรายเจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุจริง

 

อีกกรณีหนึ่งคือ ถีบลงเขา เผาลงถังแดงที่จังหวัดพัทลุง ในระหว่างปี 2514-2516  ฝ่ายเจ้าหน้าที่ปราบปรามคอมมิวนิสต์ภาคใต้ได้ใช้นโยบายเหวี่ยงแหล้อมจับกุมประชาชนไปสอบสวนแล้วฆ่ากว่าสามพันคน กรณีนี้ พล.อ.สายหยุด เกิดผล ชี้แจงในเบื้องต้นว่าให้ฟังหูไว้หู แต่พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา ยอมรับว่ากรณีถังแดงเกิดขึ้นจริง และนำไปสู่กระแสเสนอให้ยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) แต่หน่วยงานนี้ก็ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน

 

กระแสสังคมนิยมที่หนุนเนื่องเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่กุมอำนาจดูเหมือนจะหวั่นวิตกมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเมื่อเกิดกรณีการปฏิวัติไปสู่สังคมนิยมในประเทศกัมพูชาและเวียดนามในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 และการปฏิวัติในลาวปีเดียวกันอันนำมาสู่การยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ในลาว ยิ่งก่อให้เกิดความหวั่นวิตกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในทำนองเดียวกันในประเทศไทย

 

กลุ่มต่างๆที่ออกมาเคลื่อนไหวไม่ว่าประเด็นใดๆจึงถูกมองอย่างเหมารวมว่าเป็นคอมมิวนิสต์ไปเสียทั้งหมด รัฐจึงได้เริ่มใช้วิธีการที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในการจัดการให้กลุ่มต่างๆยุติบทบาทโดยเฉพาะกลุ่มของขบวนการนักศึกษา และวิธีการที่ถูกนำมาใช้ในขั้นสุดท้ายคือการพยายามสร้างเงื่อนไขที่นำไปสู่การรัฐประหารเพื่อนำรัฐบาลที่เข้มแข็งและปราบปรามคอมมิวนิสต์เข้ามาบริหารประเทศแทนรัฐบาลพลเรือน กระบวนการเหล่านี้คือเส้นทางสู่ประวัติศาสตร์เลือด 6 ตุลาคม 2519

 

จุดชนวนสังหารหมู่จาก ดาวสยามเพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ดาวสยามเข้ามาเกี่ยวพันกับสถานการณ์ได้อย่างไร

 

คงต้องพูดถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่หลังการฆ่านักศึกษาและประชาชนจำนวนมากในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ค่อนข้างคลี่คลายตัวเองในระดับหนึ่งเมื่อคณะทหารในนาม คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ทำการยึดอำนาจล้มเลิกการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในช่วงเย็นวันนั้นเอง และระบอบเผด็จการทหารก็ฟื้นกลับมาอีกครั้งอย่างมีอำนาจและยาวนาน

 

แต่เงื่อนไขของการฆ่าเพื่อกวาดล้างและการรัฐประหารจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีการสร้างความชอบธรรมเพื่อปูเส้นทางเสียก่อน ตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา จึงเกิดโฆษณาชวนเชื่อเพื่อทำลายขบวนการนักศึกษาอย่างต่อเนื่องมีตั้งแต่ระดับการสร้างข่าวลือ การปลุกระดมผ่านบทเพลงต่างๆ เช่น เราสู้หรือหนักแผ่นดิน ไปจนถึงการเผยแพร่แนวทางผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งเป็นของรัฐเสียส่วนมาก รวมไปถึงการใช้หนังสือพิมพ์เป็นสื่อ เช่น รายวัน บ้านเมือง สยามิศร์ คอลัมภ์นิสต์หลายคนในไทยรัฐ และ ดาวสยามประเด็นที่ถูกยกขึ้นมาใช้ทำลายกระบวนการนักศึกษาอย่างมีนัยยะสำคัญคือการปลุกกระแส ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์และกล่าวหานักศึกษาว่าเป็นบ่อนทำลายสถาบันเหล่านี้

 

หนังสือพิมพ์ ดาวสยามมีบทบาทค่อนข้างสูงในประเด็นเหล่านี้ ในช่วงเวลานั้นมีนายประสาน มีเฟื่องศาสตร์ เป็นเจ้าของ ดาวสยามนำเสนอเนื้อหาในข่าวใส่ร้ายและทำลายภาพลักษณ์ของนักศึกษาอยู่เสมอและหลายครั้งถึงกับใช้คำบริภาษอันหยาบคาย จึงถูกฝ่ายนักศึกษาเดินขบวนต่อต้าน และวางหรีดดำหน้าสำนักงานหลายครั้ง [5] และ ดาวสยามยังเป็นหนังสือพิมพ์ที่สร้างชนวนเหตุสุดท้ายที่นำพาไปสู่เหตุการณ์อันเลวร้ายที่สุดในวันที่ 6 ตุลาคม 2519

 

สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล อธิบายเงื่อนปมตรงนี้โดยเล่าเหตุการณ์ย้อนไปสู่เช้าวันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2519 อีกครั้ง ผ่านบทความ ผู้จัดการ-พันธมิตร กำลังก่อกระแส ละคอนแขวนคอยุคใหม่’ [6] จับความได้ว่า มีการชุมนุมของชมรมแม่บ้าน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2519 ที่ลานพระรูปทรงม้า กลุ่มนี้มาเพื่อประท้วงรัฐบาลในขณะนั้น (รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช) เนื่องมาจากวิกฤติการกลับเข้าประเทศของจอมพลถนอม แต่ในการชุมนุมนั้นมีบางคนในกลุ่มหยิบยกเอาภาพถ่ายการแสดงละครของนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่ลานโพธิในเที่ยงวันที่ 4 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นละครสะท้อนเหตุการณ์แขวนคอช่างไฟฟ้าผู้ประท้วงถนอมที่นครปฐม 2 คน และถูกตีพิมพ์ในหน้า 1 ของบางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 5 ตุลาคม 2519 (บางกอกโพสต์ออกวันละ 1 กรอบตอนเช้า) มาวิพากษ์วิจารณ์ว่า ใบหน้าผู้แสดงเป็นช่างไฟฟ้าที่กำลังถูกแขวนคอในภาพนั้นเหมือนพระบรมโอรสาธิราช แสดงว่า นักศึกษาจงใจหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

 

ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง กลุ่มจัดตั้งขวาจัดต่างๆในขณะนั้น ได้แพร่กระจายข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลนี้ออกไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอาศัยองค์กรสื่อมวลชนขวาจัด 2 องค์กร คือ นสพ.ดาวสยาม รายวัน และ สถานีวิทยุยานเกราะ เป็นเครื่องมือ โดยสถานีวิทยุยานเกราะออกอากาศปลุกเร้าอารมณ์ผู้ฟังอย่างหนักไม่หยุดตลอดบ่ายวันที่ 5 ข้ามคืนถึงเช้าวันที่ 6 มีการเรียกร้องให้จัดการกับนักศึกษาขั้นเด็ดขาด กระตุ้นความโกรธแค้นผู้ฟังถึงระดับทีหวังผลให้เกิดการใช้กฎหมู่ทำร้ายนักศึกษา ขณะที่ ดาวสยาม ได้ตีพิมพ์กรอบบ่ายเพิ่มจำนวนเป็นพิเศษ เผยแพร่ทั่วกรุงเทพ ในหน้า 1 เกือบเต็มหน้า ได้ตีพิมพ์ขยายรูปที่กล่าวหาว่าเป็นการ แขวนคอหุ่นเหมือนฟ้าชาย” (นี่คือคำพาดหัว ดาวสยาม ฉบับเช้าวันที่ 6 ตุลา ขอให้สังเกตว่า การปลุกระดมนี้วางอยู่บนการโกหกเพียงใด เพราะการ แขวนคอใช้คนแสดงจริง ไม่ใช่หุ่น) [7]

 

ด้านขบวนการนักศึกษาที่มีศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเป็นกลางและชุมนุมอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขณะนั้นก็ได้เปิดแถลงข่าว บอกเล่าความจริงของความเป็นมาของการแสดงละครประท้วงถนอม (ซึ่งเป็นกิจกรรมของนักศึกษาธรรมศาสตร์เอง ไม่ใช่การจัดของศูนย์ฯ) และได้ยืนยันว่ายินดีจะให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสอบสวนตามกระบวนการทางกฎหมายทุกอย่าง ทั้งยังได้นัดกับนายกรัฐมนตรี จะเดินทางเข้าพบเพื่อชี้แจงในเช้าวันรุ่งขึ้น

 

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือตั้งแต่ช่วงบ่าย ช่วงกลางคืน วันที่ 5 ตุลาคม ถึงช่วงเช้าวันที่ 6 ตุลาคม คือ การระดมกำลังจัดตั้งติดอาวุธของพวกขวาจัดอย่างขนานใหญ่ บรรดาผู้บงการของพวกเขาทราบดีว่า ถ้าปล่อยให้มีการดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายและกระบวนการทางการเมืองแบบปกติ คือ ให้โอกาสนักศึกษาชี้แจงกับเจ้าหน้าที่และต่อสู้คดี และให้โอกาสนักศึกษาได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนทั่วไป คำโกหกของพวกเขา ก็จะไม่เป็นผล เพราะไม่เป็นเรื่องยากที่จะแสดงให้เห็นว่า ละคอนที่แสดงที่ลานโพธินั้น คือละคอนสะท้อนการฆ่าแขวนคอช่างไฟฟ้าที่นครปฐมเท่านั้น ไม่มีเนื้อหาใดๆเกี่ยวข้องกับราชวงศ์เลย ใบหน้าของผู้แสดงก็ไม่มีการตกแต่งให้เหมือนกับรัชทายาท อย่างที่มีการปล่อยข่าวแต่อย่างใด

 

ดังนั้น บรรดาผู้บงการขวาจัดจึงเร่งระดมอันธพาลการเมือง และกำลังติดอาวุธของรัฐบางส่วนที่พวกเขาควบคุมได้โดยตรง เข้าทำการปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่คืนวันที่ 5 และเริ่มโจมตีประปรายตั้งแต่กลางดึกคืนนั้น และโดยไม่รอให้ฟ้าสว่างในเช้าวันที่ 6 พวกเขาก็สังการให้กำลังเหล่านั้นทำการโจมตีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างเต็มที่พร้อมเพรียงกัน

 

สิ่งที่ตามมาคือ การฆ่าหมู่สยดสยองที่เหี้ยมโหดที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่[9]

 

สำหรับบทบาทของ ดาวสยามบทความ ชนวน : ภาพแขวนคอที่นำไปสู่กรณี 6 ตุลาของ สมศักดิ์ เจียม ธีระสกุล กล่าวไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า มีเพียง ดาวสยามเพียงฉบับดียว (โดยความร่วมมือของวิทยุยานเกราะ) ที่ นำเสนอข่าวในทำนองว่านักศึกษาจงใจดูหมิ่นเจ้าฟ้าชายคือสร้างสถานการณ์ในบ่ายวันที่ 5 ตุลาคม อันนำไปสู่การนองเลือดในวันรุ่งขึ้น [9]

 

สมศักดิ์ ให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าวในบทความชิ้นเดียวกันว่า แม้ว่าภาพถ่ายละคอนที่ตีพิมพ์ใน บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 5 ตุลาคม 2519 (ตีพิมพ์ภาพละคอนแขวนคอเป็นที่แรก) จะถูกอ้างและนำไปแจ้งความต่อตำรวจกล่าวหาว่านักศึกษาหมิ่นองค์รัชทายาท แต่ภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพที่ถูกนำมารณรงค์และโจมตีนักศึกษา

 

อย่างไรก็ตาม สมศักดิ์มองว่ามีความเป็นไปได้ที่กลุ่ม ฝ่ายขวาจะได้ไอเดียสร้างสถานการณ์จากการเห็นภาพที่ตีพิมพ์ในบางกอกโพสต์ ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ตามปกติของทั้งนักศึกษาที่สะท้อนเหตุการณ์ออกมาเป็นละครและเสนอภาพข่าวที่น่าสนใจ

 

แต่ข้อสังเกตหนึ่งของสมศักดิ์ ที่มีต่อ ดาวสยามคือ ดาวสยามตีพิมพ์ออกมาวันละ 2 กรอบในช่วง 6 ตุลาคม 2519 ในขณะที่ปกติจะตีพิมพ์เฉพาะกรอบบ่ายของแต่ละวันเท่านั้น และตั้งแต่มีการแสดงละครมีการออกวางตลาด 3 ครั้ง คือ บ่ายวันที่ 4 (ลงหัววันที่ 5 ) เช้าวันที่ 5 และบ่ายวันที่ 5 (แต่ลงหัววันที่ 6) ถ้านับเช้าวันที่ 6 ด้วย จะมี 4 ฉบับด้วยกัน

 

เขาชี้ประเด็นว่า มีหลักฐานที่ ดาวสยามตีพิมพ์ภาพถ่ายจากการแสดงครั้งแรกตั้งแต่ฉบับที่ออกในบ่ายวันที่ 4 (ลงวันที่ 5 ซึ่งหาต้นฉบับไม่ได้แล้ว) ลักษณะอย่างไรบอกไม่ได้แล้ว แต่จากคำของ ดาวสยามเองที่พูดถึงเมื่อเกิดการกล่าวหาว่านักศึกษาแสดงละครหมิ่นองค์รัชทายาทที่ว่า ภาพนั้นเล็กและดูไม่ชัดเจนซึ่งแสดงว่าในเย็นวันที่ 4 ‘ดาวสยามยังไม่รู้สึกว่ามีอะไรผิดปกติจากภาพที่ลงใน ดาวสยามครั้งแรก ดังนั้นในกรอบวันต่อที่ออกในเช้าวันที่ 5 ตุลาคม จึงไม่มีภาพเกี่ยวกับการแสดงละครเลย

 

แต่ในทางกลับกัน เช้าวันนั้นมีสื่อ  3 ฉบับที่พิมพ์ภาพถ่ายมาจากละคร คือ ประชาธิปไตย เนชั่น และบางกอกโพสต์ ซึ่งโพสต์เป็นเพียงฉบับเดียวที่เห็นหน้าด้านตรงของผู้ที่ถูกแขวนคอในละคร (อภินันท์ บัวหภักดี) ส่วนประชาธิปไตย เป็นภาพของวิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้แสดงอีกคนหนึ่ง (แสดงสลับกันเพราะผู้แสดงจะเจ็บหน้าอกเมื่อถูกแขวน) ส่วนเนชั่นเป็นภาพด้านข้างของอภินันท์ นอกจากนี้ คำบรรยายใต้ภาพของบางกอกโพสต์ยังระบุชัดเจนว่าเป็นการแสดง ฉาก…การฆ่าแขวนคออย่างทารุณของแอ๊คติวิสต์สองคนหลังการกลับมาของอดีตผู้เผด็จการถนอม กิตติขจร

 

อย่างไรก็ตาม สมศักดิ์ ไม่ได้ยืนยันชัดว่า ฝ่ายขวาเกิดไอเดียเกี่ยวกับรูปภาพในบางกอกโพสต์ตั้งแต่เมื่อไร แต่ตั้งข้อสังเกตไว้ในราวช่วงบ่ายของวันที่ 5 ตุลาคม 2519 โดยยกหลักฐานของ วัลลภ โรจนวิสุทธิ์ ในหนังสือ ยังเตอร์กของไทย (2521) ว่า

 

กลุ่มผู้รักชาติและแม่บ้านจำนวนประมาณ 300 คน ที่ชุมนุมกันหน้าทำเนียบตั้งแต่เช้าวันนั้นเพื่อเรียกร้องให้เสนีย์ รับสมัคร สุนทรเวช และสมบุญ ศิริธร กลับเป็นรัฐมนตรี เมื่อใกล้บ่ายสามโมง

 

ก็เกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงขึ้นมาและมีผลสะท้อนร้ายยิ่งนัก กล่าวคือผู้ที่มาชุมนุมอยู่นั้นได้หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ประจำวันที่ 5 ตุลาคม 2519 มาสามสี่ฉบับ มีภาพผู้ถูกแขวนคอเหมือนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช…

 

จากนั้นในช่วงค่ำของวันที่ 5 ตุลาคม 2519 นางนงเยาว์ สุวรรณสมบูรณ์ สมาชิกชมรมแม่บ้าน เข้าแจ้งความที่ สน.ชนะสงครามว่า ศูนย์นิสิตฯเล่นละครหมิ่นองค์รัชทายาทโดยเล่าว่า “14.00 น. ตนได้เห็นภาพในหน้า นสพ.บางกอกโพสต์…หนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่รายงานข่าวการชุมนุมของพวกนี้จนถึงประมาณเที่ยงวันหรือหลังเที่ยงวันเล็กน้อย ก็ยังไม่มีการกล่าวถึงเรื่องภาพแสดงละคร  [10]

 

แต่เมื่อเรื่องนี้เริ่มแพร่กระจายในกลุ่มขวาหรืออนุรักษ์นิยม ดาวสยาม รายงานดังนี้

 

เมื่อวันที่ 5 เดือนนี้ เวลา 17.00 น. ได้มีบุคคลหลายอาชีพได้นัดประชุมโดย ยกรูปภาพในหน้าของ นสพ. ดาวสยาม ฉบับวันที่ 5 ต.ค. (กรอบแรก) [คือฉบับที่ออกในบ่ายวันที่ 4 – สมศักดิ์] และได้นำมาวิเคราะห์ถึงภาพและการกระทำของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาที่เล่นละครการเมืองในบริเวณลานโพธิ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้วิเคราะห์ว่ารูปภาพนั้นเหมือนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แต่เนื่องจากภาพนั้นเล็กและดูไม่ชัดเจน จึงได้ติดต่อขอมาที่ นสพ.ดาวสยาม และทาง นสพ. ดาวสยาม ก็ได้ให้ความร่วมมือ โดยขยายภาพให้ชัดเจนและไม่ได้มีการตบแต่งภาพแต่อย่างไร ส่งไปให้ยังตัวแทนของบุคคลกลุ่มนี้ที่มาขอรับ ที่ประชุมของบุคคลกลุ่มนี้ ได้มีมติเห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ว่าภาพนี้เป็นภาพที่ส่อเจตนาดูหมิ่นราชวงศ์จักรี….

 

ทั้งนี้ สมศักดิ์ คาดว่าในช่วงบ่ายวันที่ 5 ตุลาคม 2519 ‘ดาวสยาม กรอบบ่าย (ลงวันที่ 6 ตุลาคม ) ได้ตีพิมพ์ภาพการแสดงละครอีกครั้ง และภาพนี้ถูกใช้ในการปลุกระดมตลอดเย็นและค่ำวันนั้น อย่างไรก็ตาม ดาวสยามกรอบนี้หาดูไม่ได้ในปัจจุบันแต่สมศักดิ์เชื่อว่าเคยเห็น ภาพละครแขวนคอในดาวสยามฉบับนั้น

 

ในความทรงจำของผม เป็นภาพแบบ “โคลสอัพ” ขนาดใหญ่ เห็นตัวละครที่ถูกแขวนเพียงครึ่งตัว เป็นไปได้ว่านี่คือ ภาพที่ ดาวสยาม เองกล่าวถึงว่าได้ “ขยายภาพให้ชัดเจนและ…ส่งไปให้ยังตัวแทน” ของกลุ่มฝ่ายขวาในเย็นนั้น (และอาจจะมาจากเป็นภาพที่ทั้ง ดาวสยาม และ บ้านเมือง พิมพ์ในกรอบเช้าวันที่ 6 แต่อันหลังซึ่งไม่มีผลต่อการรณรงค์แล้ว จะเป็นระยะไกลขึ้น แสดงตัวผู้เล่นเกือบทั้งตัว) ที่แน่ๆคือเป็นคนละภาพกับที่พิมพ์ใน บางกอกโพสต์ [11]

 

บทวิเคราะที่ตามมาของสมศักดิ์หลังจากตรงนี้น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเขาไม่ได้พูดถึงประเด็นที่ ดาวสยามตกแต่งหรือบิดเบือนภาพหรือไม่ แต่ชนวนของอารมณ์ความรู้สึกที่นำไปสู่ความรุนแรงกลับมาจากการรับรู้ที่แพร่หลาย และตามมาด้วยการนำเสนอของสื่อฉบับอื่นๆในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นกระแสและเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่นำไปสู่สถานการณ์ในวันรุ่งขึ้น

 

แม้แต่ภาพใน ดาวสยาม ตอนบ่ายวันที่ 5 นี้ก็ไม่น่าจะเป็นภาพแต่ง? ผมไม่ได้ต้องการเสนอว่าเพราะหน้าคนเล่นละคร “เหมือน” อยู่แล้วจึงไม่ต้องแต่งภาพ แต่ต้องการจะเสนอว่า ความรู้สึกที่ว่า “เหมือน” นั้นที่สำคัญไม่ใช่มาจากหน้าคนเล่นละครแต่มาจากความรับรู้ (perception) ที่แพร่หลายไม่เพียงแต่ในหมู่ฝ่ายขวา แต่ในหมู่คนจำนวนไม่น้อยในขณะนั้นว่า ขบวนการนักศึกษา “แอนตี้สถาบัน” ด้วยเหตุนี้ ขอเพียงแต่ให้องค์ประกอบบางอย่างของภาพมีส่วนคล้ายคลึงเท่านั้น ก็ทำให้คิดไปในทางนั้นได้ทันที ในแง่นี้ เสื้อชุดทหารที่ตัวละครใส่อาจจะมีผลต่อความรู้สึกของคนดูภาพ มากกว่าใบหน้าตัวละครเสียอีก

 

เมื่อถึงเช้าวันที่ 6 ตุลาคม หนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับก็ลงข่าวเรื่องนักศึกษาถูกกล่าวหาว่าเล่นละครหมิ่นองค์รัชทายาทแล้วราวกับว่านักศึกษาผิดจริงๆ และที่เหมือนกับจะเป็นการเยาะเย้ย (irony) ของประวัติศาสตร์ก็คือ บางกอกโพสต์ อาจเป็นฉบับที่ลงข่าวเข้าข้างนักศึกษาที่สุดในสถานการณ์เช่นนั้น แม้แต่ ไทยรัฐ หรือ ประชาชาติ ที่เคยเข้าข้างนักศึกษามาตลอดก็พาดหัวว่า “จับนักศึกษาหมิ่นฟ้าชาย” และ “สั่งสอบแขวนคอลานโพธิ์ ระบุภาพหมิ่นองค์รัชทายาท” ตามลำดับ โพสต์ เกือบเป็นฉบับเดียวที่ไม่ยอมระบุตรงๆเช่นนั้น แต่กลับพาดหัวเพียงว่า “สั่งสอบละครแขวนคอ ศูนย์นิสิตปฏิเสธผู้แสดงหน้าเหมือนใครทั้งสิ้น”[12]

 

ถึง 6 ตุลาคม 2519

ผมเห็นใบปลิวกระดาษปอนด์ลงรูปถ่ายที่กล่าวหาว่าพวกเราแสดงละครหมิ่นองค์รัชทายาท ตั้งแต่เวลา 18 น.วันที่ 5 ต.ค. ต่อจากนั้นผมได้ดู น.ส.พ. ดาวสยาม (มายืนขายหน้า ม.ธ. ด้วย ผมเห็นแล้วแค้นมากที่เราถูกกล่าวหาเช่นนั้น คนนับพันเมื่อวันที่ 4 เป็นพยานได้ เราไม่เคยแสดงละครแล้วตบแต่งรูปร่างหน้าตาดังรูปที่พิมพ์แจกออกนั้นเลย นศ.ปี 1 มธ.ดูตั้งนานแล้ว ไม่เห็นมีปฏิกริยาอะไร กลับมาเป็นเรื่อง เป็นราวเมื่อลงใบปลิวและลง น.ส.พ.นี่แหล่ะ ตอนนั้นผมไม่เข้าใจชัดนักว่า เขากล่าวหาเราเช่นนี้ทำไม คิดว่าคงใส่ร้ายป้ายสีกันตามเคย แต่ผมรู้สึกเหมือนคนอื่นๆว่าเหตุการณ์ตึงเครียดขึ้นทุกที) [13]

 

เนื้อความในจดหมายถึงเพื่อนจากในคุกของ ชวลิตร วินิจจะกูล หนึ่งใน 19 จำเลยคดี 6 ตุลาคม 2519 ได้เขียนเล่าบ่งบอกเหตุการณ์และความรู้สึกก่อนการรัฐประหารและนองเลือดในวันที่ 6 ตุลาคม 2519  ตอนนั้นเขาไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่า ทำไม ดาวสยามจึงใช้ประเด็นสถาบันเบื้องสูงมาใช้กับนักศึกษา แต่การนำประเด็น หมิ่นพระบรมเดชานุภาพครั้งนี้คงความหวั่นวิตกให้เขาและเพื่อนๆที่ชุมนุมนธรรมศาสตร์ไม่น้อย จึงทำให้ในเวลาประมาณ 21.00 น. ทางศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาต้องนัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนครั้งใหญ่และด่วนที่สุด เพื่อแสดงหลักฐนและเหตุผลโดยให้ผู้แสดงละครเล่าความจริงทั้งหมดและให้ผู้สื่อข่าวดูใบหน้าและภาพถ่ายของ อภินันท์ ผู้แสดงว่าไม่เหมือนในใบปลิวเลย

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสื่อมวลชนจะซักถามจนหมดข้อสงสัยแล้ว แต่จดหมายของชวลิตร ระบุว่าวิทยุ 200 สถานียังคงให้ข่าวแบบเดิมต่อไป ฝั่งสนามหลวงมีการชุมนุมของอีกฝ่ายหนึ่งที่เขาเรียกว่า อันธพาลที่สร้างความรุนแรงประปรายไปเรื่อยๆตลอดคืน เช่น การขว้างปาสิ่งของ จุดไฟเผา ทำลายข้าวของ หรือยิงปืนขู่ ในขณะที่ตำรวจที่มาดูแลทำหน้าที่เพียงมองเหตุการณ์อยู่เฉยๆเท่านั้น

 

จนกระทั่งเวลาประมาณ 4.00 น. วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ตำรวจมากกว่า 200 คน มาล้อมทางเข้าออกทั้งหมดของธรรมศาสตร์ไว้พร้อมอาวุธครบมือ จากนั้นเสียงปืนจากอาวุธสงคราม ซึ่งเป็นอาวุธของเจ้าหน้าที่รัฐก็ดังขึ้นเป็นชุดๆ

 

เวลา 5.30 น. เสียงวิ๊ดดังขึ้น ตามมาด้วยเสียงระเบิด มีคนตายและบาดเจ็บจากระเบิดลูกนี้ 3-4 คน หลังจากนั้นเสียงปืนระดมยิงก็ดังเข้ามาไม่มีหยุดในขณะที่ผู้ชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พากันเข้าไปหลบในตัวตึกอาคารต่างๆ เขาเล่าเหตุการณ์ช่วงนี้ว่า

 

ยิ่งกว่าสงคราม เพราะที่นี่ฆ่าหมู่ฝ่ายเดียว ฝ่ายหนึ่งหมอบรอกระสุน อีกฝ่ายสูบบุหรี่ไปยิงไปอย่างเลือดเย็น

 

ผมเห็นภาพของตำรวจหลังออกจากคุก ท่ายิงอย่างสบายใจทั้งนั้น บางคนแบกปืนยิงรถถังทั้งที่ในธรรมศาสตร์ไม่มีรถถังสักคัน

 

หรือเขาอาจจะคิดว่า มีรถถังใต้หอฯใหญ่ มีเรือดำน้ำอยู่บนแท็งก์และในอุโมงค์ มีขีปนาวุธอยู่ที่ยอดโดม !” [14]

 

ในจดหมายฉบับที่ 2 เขาเขียนเล่าต่อไปว่า หลังจากเสียงระเบิดดังขึ้นเมื่อ 5.30 น. มีรถพยาบาลออกไปได้เพียงไม่กี่คัน เพราะมีคำสั่งห้ามจากข้างบน คนบาดเจ็บยิ่งมีมากจนรถพยาบาลไม่พอ จนต้องประกาศขอรถใครก็ได้มาลำเลียงคนเจ็บ แต่ถึงมีรถมากี่คันก็ถูกสั่งให้จอดรอจนคนตายอยู่ที่ท่าพระจันทร์

 

..ที่นี่นักศึกษาแพทย์ พยาบาลเริ่มต้นอาชีพในอนาคตด้วยการนั่งมองคนตายลงทีละคน

 

ได้ข่าวว่าโทรทัศน์วันนั้น ถ่ายภาพเหตุการณ์หน้า มธ.ด้านสนามหลวงไว้ได้มาก

 

ทั้งภาพกระชากสายน้ำเกลือออกจากร่างคนเจ็บ ภาพเทเปลคนเจ็บลงกับพื้นแล้วรุมกระทืบ ภาพรุมตีประชาทัณฑ์ ยังมีการแขวนคอแล้วกรีดคอจนเหวอะ แขวนคอแล้วเอาเก้าอี้พาด รุมตี ข่มขืนแล้วฆ่า จับลากไปเผาทั้งเป็น ฯลฯ

 

…หลังการจับกุมมีเสียงประกาศผ่านเครื่อขยายเสียง ตร.ว่า ขณะนี้มีช่างภาพต่างประเทศเข้ามาแล้ว ขอให้หยุดกระทำการทารุณต่างๆเสีย …พวกเขาเองก็ยอมรับว่าทารุณ แต่ก็ยังทำอยู่ กระทั่งเลิกเพราะกลัวความจริงจะเผยแพร่ไปทั่วโลก…

 

นี่คงเป็นเพียงภาพคล่าวๆของเหตุการณ์เท่านั้นว่า..ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เกิดอะไรขึ้น

 

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดครั้งนี้ สื่อมวลชนเข้าไปมีบทบาทสำคัญ ในขณะที่การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนจากต่างประเทศอีกชุดหนึ่งได้มีส่วนช่วยทำให้เหตุการณ์เย็นลงได้ เพราะ ความจริงมักเป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับผู้อยู่ในที่มืดเสมอ

 

ในขณะที่ชาวต่างประเทศได้ดูภาพเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 กันอย่างจริงจังทุกแง่ทุกมุม และปราศจากการบิดเบือนข่าว ภาพ คนไทยในประเทศกลายเป็นกลุ่มชนที่ถูกปิดบังไม่ให้ได้รับทราบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ในวันนั้น เมื่อมีผู้สนใจเข้าไปหาข้อเท็จจริงกลับถูกรัฐบาลที่มีอำนาจภายหลังเหตุการณ์จับกุมคุมขังข้อหา เป็นภัยสังคมสำหรับการทำหน้าที่ของสื่อ มีเพียง สรรพสิริ วิรยสิริ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เท่านั้นที่กล้านำเสนอภาพเหตุการณ์สดๆของเหตุการณ์นี้มาเผยแพร่หลังเหตุการณ์ผ่านพ้นไปไม่กี่ชั่วโมง ปรากฏว่าว่าเจ้าหน้าที่สถานีโทรทัศน์ช่องนี้ถูกปลดกันตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการสถานีมาจนถึงนักข่าว

 

สรรพสิริ เคยให้ความเห็นต่อเหตุการณ์นี้ว่า ลูกหลานเราทั้งนั้น ทำได้อย่างไร? คนไม่มีสิทธิจะผูกคอเขาการเกลียดชังที่เห็นวันนั้นมาจากการเพาะเชื้อของบางคน

 

และเขายังกล่าวถึงการทำหน้าที่ในฐานะสื่อมวลชนด้วยว่า ผมไม่มีปืน..ผมสู้ได้อย่างเดียวโดยเอาความจริงมาเปิดเผยให้คนได้รับรู้ นี่คือหน้าที่ของผม” [15]

 

ภาพที่ชัดเจนอีกอย่างหนึ่งของเหตุการณ์ คือการเข้ามีมีบทบาทของทหารที่เข้ามามีบทบาทอีกครั้งผ่านความวุ่นวายที่สื่อสร้างให้เพื่อนำไปสู่การรัฐประหารในตอนเย็น ฝ่ายทหารนำโดย คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมี พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะ ใช้เหตุผลที่สำคัญข้อหนึ่งในการรัฐประหารคือ นักศึกษาหมิ่นฟ้าชายซึ่งมาจากการนำเสนอของสื่ออย่างครึกโครมและได้สร้างความรู้สึกร่วมของสังคมถ่ายทอดไปสู่ประชาชนได้ด้วยสื่ออย่าง ดาวสยามและ วิทยุยานเกราะตลอดวันที่ 4,5 และ 6 ตุลาคม 2519

 

นอกจากนี้ยังมีเหตุผลต่อเนื่องกันที่ทหารนำมาใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงในการปราบปรามนักศึกษาและประชาชน ได้แก่ นักศึกษาชุมนุมและสะสมอาวุธในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อก่อการกบฎ มีการปะทะกันระหว่างกลุ่ม ผู้รักชาติกับกลุ่มนักศึกษา และตำรวจคุมสถานการณ์ไม่ได้ จึงต้องบุกเข้าไปในธรรมศาสตร์ และเหตุผลข้อสุดท้ายคือ นักศึกษาอาศัยการมี ประชาธิปไตยมากเกินไปหลัง 14 ตุลาคม 2516 เพื่อฉวยโอกาสเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำลายชาติ

 

NEO ดาวสยาม

บางทีภาพของ 6 ตุลาคม 2519 ทั้งเงื่อนไขและเป้าหมายอาจทำให้เราสามารถมองเห็นภาพหรือเงื่อนไขของปัจจุบันว่ามีความรู้สึกคลับคล้ายกัน หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ประเด็น หมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ถูกกลุ่มผู้รักชาติ (ใหม่) กับ NEO ดาวสยาม ยกมาใช้เป็นเงื่อนไขเพื่อกระทำการเดินไปสู่เหตุการณ์ที่อาจคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ 6 ตุลาในอนาคตเพียงเพื่อต้องการกำจัดศัตรูทางการเมือง

 

ถ้า 6 ตุลาคม 2519 เกิดขึ้นบนเงื่อนไขของการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังระบาดอย่างเป็นโดมิโนจนกระทั่งนำไปสู่การล่มสลายของสถาบันระมหากษัตริย์ในลาวแล้วและใกล้ตัวเข้ามา หากมองในเงื่อนไขปัจจุบันกรณีความสั่นคลอนของสถาบันพระมหากษัตริย์เนปาลก็ได้กลายเป็นประเด็น หวั่นวิตกที่ถูกมาผูกโยงกับประเทศไทย

 

ในความคล้ายคลึงกัน NEO ดาวสยาม ยังคงเดินในแนวทางที่มีภาพลักษณ์เก่าเชยมาปลุกระดมทางการเมืองและทำให้ประเด็นเพียงการไม่ยืนตรงเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงหนังของคนสองคนกลายเป็นเรื่องของ กลุ่มคนหรือ ขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยเพื่อทำให้ไทยกลายเป็นสาธารณรัฐ

 

ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้อาจต้องลองถามตัวเองหรือไม่ว่าเวลาเช่าหนังแผ่นมาดูที่บ้าน ดูกับครอบครัว ชวนคนข้างบ้านมาดู ได้เปิดเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อยืนตรงและแสดงความเคารพแล้วหรือยัง ถ้า..ระดับความจงรักภักดีจะต้องวัดกันตรงไหนกันแน่???

 

ความจริงการที่สื่อมวลชนจำนวนหนึ่งอยากมีภาพลักษณ์ที่อนุรักษ์นิยมหรือเห็นแนวทาง ดาวสยามเป็นไอดอลคงไม่ใช่เรื่องผิดอะไรแม้จะถือแล้วไม่เท่ห์และอาจไม่เหมาะกับมาดนักธุรกิจที่ต้องมีวิสัยทัศน์ในโลกโลกาภัตน์ก็ตาม แต่มันก็เป็นเรื่องของเสรีภาพสื่อมวลชน อย่างไรก็ตามก็ต้องมองให้แยกขาดจากการวางตัวที่นำไปสู่เงื่อนไขในการเดินไปสู่สถานการณ์แบบ 6 ตุลาคม 2519 เพราะนั่นเป็นคนละเรื่องกับเสรีภาพอย่างสิ้นเชิง

 

สมศักดิ์ มีข้อสังเกตประการหนึ่งที่น่าสนใจมากและอาจใช้เป็นอนุสติของสังคมได้ เขามองว่า เหตุการณ์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 แท้จริงแล้วไม่มีใครแม้แต่ผู้ที่ลงมือฆ่าหมู่และทำทารุณกรรมในเช้าวันที่ 6 เองสามารถรู้ล่วงหน้าตั้งแต่คืนวันที่ 5 ว่าจะเกิดการฆ่าหมู่ทารุณกรรมในลักษณะที่เกิดขึ้นจริง

 

ในความเห็นของผม พวกเขาไม่ได้วางแผนมาว่าจะทำแบบที่ได้ทำจริงๆ สิ่งที่พวกเขาตั้งใจไว้มากที่สุดคือจะ จัดการนักศึกษาธรรมศาสตร์ ด้วยความรุนแรง แต่เมื่อพวกเขาปล่อยความรุนแรงออกมาแล้ว รูปแบบการคลี่คลายของมันเป็นเรื่องเป็นไปเอง

 

 … เพราะสถานการณ์ที่พวกฝ่ายขวาก่อขึ้นมาในบ่ายวันที่ 5 ตุลาคม 2519 นั้นมันเหมือนกับผีดูดเลือด ที่เมื่อถูกปลุกขึ้นมาแล้วไม่มีใครสามารถควบคุมได้ ไม่มีใครสามารถทำให้มันสงบลงได้จนกว่ามันจะได้ดื่มเลือดคนจริงๆ  [16]

 

เพียงแต่ดูเหมือนว่าวันนี้ ผีดูดเลือดจะถูกหมอผีคะนองฤทธิ์ปลุกเสกมาใหม่และดูท่ามันชักจะกระหายอยากดื่มเลือดมากขึ้นทุกทีๆ

 

ขุนพลน้อย

อ้างอิง

 

[1]  สถิตินี้เป็นไปตามบันทึกสยามจดหมายเหตุ.ปีที่ 1 แต่กระนั้นตัวเลขที่ชัดเจนไม่มีใครทราบ และยังเป็นความลับที่ไม่อาจตรวจสอบได้จนถึงปัจจุบันนี้ (ที่มา : สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ . ‘เหตุการณ์ 6 ตุลาเกิดขึ้นได้อย่างไร ’.อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง.คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 , 2544)

[2]  สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ เล่มเดียวกัน หน้าเดียวกัน

[3]  เล่มเดียวกัน

[4]  สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ หน้า 76

[5]  สุธาชัย  ยิ้มประเสริฐ หน้า 131

[6]  สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล.  ผู้จัดการ-พันธมิตร กำลังก่อกระแส ละคอนแขวนคอยุคใหม่ประชาไท. 2 พ.ค. 51

[7]  สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล: ประชาไท 2 พ.ค. 51

[8]  สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล: ประชาไท 2 พ.ค. 51

[9]  สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล. ชนวน:ภาพแขวนคอที่นำไปสู่กรณี 6 ตุลา’ .ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง.สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก,2544

[10] สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล : หน้า153

[11] สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล หน้า 154

[12] สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล หน้า 154

[13] ชวลิต วินิจจะกูล. ‘จดหมายจากชวลิต วินิจจะกูล’ . 6 ตุลา เราคือผู้บริสุทธิ์ .กรุงเทพฯ: คณะกรรมการประสานงาน 20 ปี 6 ตุลา,2539

[14] ชวลิตร วินิจจะกูล : เราคือผู้บริสุทธิ หน้า 26]

[15] ใจ อึ๊งภากรณ์. สรุปข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519’ . อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการณ์เปลี่ยนแปลง อ้างต่อจาก I.T.V. 2542 ,สารคดี ต.ค. 2541 หน้า 139

[16] สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล: หน้า 160]

‘วัฒนธรรมอำนาจ’ ผ่านเครื่องแบบ ‘นักศึกษา’

ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง 

เป็นเรื่องจริงมากทีเดียวที่สังคมไทยมักชอบตอแหลตัวเองว่าเป็นสังคมวัฒนธรรมที่มีเสรีภาพและประชาธิปไตยมากมายจนมักอธิบายถึงตัวเองเสมอๆว่า ทำอะไรตามใจคือไทยแท้ แต่ในขณะที่ความจริงกลับเสพติดและหลงไหลในเรื่อง อำนาจแบบ เผด็จการอย่างเป็นระบบจนกลายเป็น วัฒธรรมอำนาจที่ฝังรากอย่างลงตัวยิ่งกว่าชาติใดในโลก  

ไม่ขอยกตัวอย่างอะไรให้ไกลตัว เอาแค่เรื่องง่ายๆอย่างการมีทหารบ้าๆบอๆกลุ่มหนึ่งมายึดอำนาจแล้วบอกว่าเป็นการ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น เราก็เชื่อกันเสียแล้วว่านั่นคือ ประชาธิปไตยและเรายังมีเสรีภาพอีกมากมาย แต่ในหลายต่อหลายครั้งเรากลับกำลังถูกกำหนดและมีการชี้นำตลอดเวลาว่า ทำอย่างนั้นสิดี ทำอย่างนี้สิดี เพราะฉันบอกว่าดี  โดยความอึดอัดในใจจึงใคร่อยากถามว่าความดีนั้นๆเป็นความดีที่ถูกเลือกแล้วด้วย อำนาจที่เหนือกว่าใช่หรือไม่ จะไม่มีใครรู้สึกแปลกหรือตะขิดตะขวงในคำสั่งทางความดีนั้นๆเลยหรือ

สำหรับสังคมไทยแล้วตราบใดที่อำนาจเหนือกว่าบอกว่า ดีคงจะเชื่อตามทันทีว่า ดีไปโดยอัตโนมัติ ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ขอตอบแบบคิดเอาเองว่า อาจเป็นเพราะ ผู้มีอำนาจที่เหนือกว่ามีอำนาจในการนิยามความดีด้วย และอำนาจการนิยามความดีนี้ได้ฝังอยู่ในระบบการเรียนรู้ทางวัฒธรรมอย่างเข้าหาแบบขายตรง โดยผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่าจะงงๆไม่ค่อยรู้สึกตัวเวลาเรียนรู้วัฒนธรรมนี้ ทั้งที่บางครั้งก็อาจจะสับสนแต่ก็เลือกจะทำตามไปเพื่อลดความยุ่งยากที่จะมาผูกพันในภายหลัง 

พี่คะ อาจารย์เลือกให้หนูเป็นตัวแทนไปแข่งสปีชภาษาอังกฤษระดับประเทศด้วยล่ะนักศึกษาสาวเซ็กซี่คนหนึ่งกล่าวกับผมในเที่ยงวันฟ้าใส ขณะกำลังซื้อกาแฟในคอฟฟี่ช็อปของมหาวิทยาลัย ผมตอบเธอกลับไปว่า ดีสิ  ยินดีด้วย ถ้าว่างก็จะไปดู

 แต่อาจารย์มีข้อแม้ค่ะว่าขออย่างนุ่งกระโปรงสั้น และอย่าแต่งหน้าได้ไหมผมยิ้ม  

เท่าที่รู้จักกันมา เธอเป็นนักศึกษาวิชาภาษาอังกฤษและแต่งตัวแบบค่อนข้างมั่นใจในเรือนร่างตามวัย อย่างไรก็ตาม ในวันที่มาเรียน เธอต้องใส่เครื่องแบบนักศึกษาตลอดเวลาเพราะเป็นคำสั่งของภาควิชาภาษาอังกฤษ หากไม่สวมก็ห้ามเข้าเรียน  เครื่องแบบนักศึกษาของเธอตามปกติแฝงความไม่ยอมรับอำนาจนั้นอยู่ในที ด้วยกระโปรงที่ค่อนข้างสั้น หรือเสื้อที่เน้นสัดส่วน คงดูขัดตาผู้กุมอำนาจความรู้และความถูกต้องในมหาวิทยาลัยอยู่พอสมควร คราวนี้เมื่อเธอจะต้องเป็นตัวแทนสถาบันการศึกษาเพื่อไปปรากฏตัวสู่ที่สาธารณะ จึงสบโอกาสในการสำแดงพลังวัฒนธรรมอำนาจ กลไกบางอย่างในมโนสำนึกฝ่ายสูงๆต่ำๆเริ่มทำงาน และสร้างข้อแม้แบบไทยๆขึ้นทันที 

อาจารย์ฝรั่งไม่ได้ว่าอะไรหรอกค่ะ แต่อาจารย์คนไทยนี่สิขอไว้ ทำไมเหรอพี่ สวยแล้วฉลาดไม่ได้เหรอ เธอตั้งคำถามนี้ไว้กับผมก่อนแยกจากไป

ผมจิบกาแฟคำหนึ่ง ก่อนจะหันไปดูรอบๆตัว มหาวิทยาลัยแห่งนี้เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก นักศึกษาจำนวนมากทีเดียวสวมเครื่องแบบนักศึกษา ในขณะที่เมื่อประมาณ 4-5 ปีก่อน เครื่องแบบนักศึกษากลับไม่ใช่ข้อจำกัดของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ แต่กลับเป็นจุดเด่นที่แสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระที่จะคิดและทำอะไรในทางสร้างสรรค์เสียด้วยซ้ำ คำถามถึง เครื่องแบบนักศึกษาเป็นเงื่อนในใจผม ใส่แล้วมันฉลาดขึ้นหรือ…ก็เปล่า ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความเป็นหนึ่งเดียวที่เครื่องแบบนักศึกษากำลังสร้างขึ้นเป็นกรอบนั้นเป็นคำตอบของความเป็น นักศึกษาที่สังคมต้องการจริงหรือ… ผมไม่แน่ใจนัก  

คำถามสุดท้ายของนักศึกษาสาวที่พบกันในร้านกาแฟวันนั้นคงเป็นอะไรบางอย่างที่สะท้อนความจริงของสังคมไทยออกมาได้ดีเลยทีเดียว  เครื่องแบบก็คือระบบการสร้างสายอำนาจของวัฒนธรรมไทย  ระบบวัฒนธรรมอำนาจในสังคมไทยถูกสร้างผ่านการสอนและถ่ายถอดกันมาอย่างเป็นองค์ความรู้ว่า การยอมรับคือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดหากมีคำสั่งทางอำนาจที่เหนือกว่าสั่งลงมา ส่วนการปฏิเสธที่จะทำตามคือความก้าวร้าวและสร้างความแตกแยกให้กับสังคม คำสั่งของอำนาจที่เหนือกว่านั้นคือสิ่งที่ถูกกลั่นกรองมาแล้วจากหน่วยที่มีระดับมันสมองเหนือกว่า ด้วยความเชื่อแบบอัตโนมัติว่าถ้าระดับมันสมองไม่เหนือกว่า เขาก็จะไม่สามารถยืนอยู่บนจุดที่มีอำนาจเหนือกว่า อำนาจจึงเป็นความจริงและความถูกต้องสูงสุดที่ไม่ต้องการคำอธิบายพิ่มเติม  

ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ศูนย์กลางอำนาจระดับบนหรือระดับบริหารจัดการทั้งประเทศอย่างกระทรวงวัฒนธรรมหรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะมีอารมณ์ตะขิดตะขวงใจทันทีหากไม่ทำตามศีลธรรมแบบรัฐบาลคุณธรรมกำลังร้อนรนทางศีลธรรม หน่วยอำนาจเหล่านี้จึงจี้ไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆตามสายอำนาจของตัวเองเพื่อบอกให้เข้มงวดเรื่องชุดนักศึกษา (ไม่พูดถึงเรื่องการไม่ต้องสวมใส่เสียด้วยซ้ำ) จนกระทั่งมีการจับนักศึกษาที่ใช้ชุดค่อนข้างสั้นมาออกทีวีประจานด้วยคุณธรรมที่ไม่อยากให้คนอื่นเลียนเยี่ยงอย่าง  

จากคำสั่งนั้น บรรดาผู้ประสาทวิทยาและผู้มีอำนาจในมหาวิทยาลัยต่างๆจะรีบเต้นระริกๆ ตามทันที สายอำนาจจะมาสุดปลายตรงผู้รับที่เรียกว่า นักศึกษาซึ่งที่จะรับคำสั่งทำงานตามอย่างเป็นระบบ เนื่องจากสำเหนียกตัวเองตลอดเวลาว่าเป็นผู้มีอำนาจน้อยที่สุด 

ตัวอย่างของยกในมหาวิทยาลัยบางย่าน เช่น ท่าช้างที่มักบอกตัวเองเสมอๆว่ามีอารมณ์แบบศิลปิน เป็น ติสท์ที่ไม่ยอมให้ใครมาบงการนอกจากอารมณ์ความรู้สึกแห่งศิลปะ ทำงานศิลปะเพื่อศิลปะจนบางทีออกอาการไปทางบ้าๆบอๆด้วยซ้ำ แต่หลังจากมีคำสั่งทางอำนาจเข้ามา เครื่องแบบจึงกำลังถูกนำมาสวมทับให้นักศึกษาแห่งนี้กันอย่างแข็งขัน คำถามก็คงอยู่ที่ว่าเมื่อ กรอบถูกวางมาให้ยอมรับตั้งแต่แรก ต่อไปความสร้างสรรค์หรือความงามทางศิลปะที่ต้องการการรับรู้ทางวิญญาณอย่างเปิดกว้างมาเป็นแรงบันดาลใจใหม่ๆตลอดเวลานั้น ไม่ทราบจะต้องตกอยู่ใน กรอบเพียงที่ครูบาอาจารย์วางเอาไว้เพื่อแลกกับเกรดดีๆ หรือใบปริญญาไว้การันตีตัวเองเท่านั้นหรือไม่  

ขอยกตัวอย่างอีกแห่งหนึ่งที่ถัดกันไปทางย่านท่าพระจันทร์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้เคยเป็นตำนานแห่ง เสรีภาพทุกตารางนิ้วจนมีเรื่องเล่ากันว่า การปฏิเสธอำนาจผ่านเครื่องแบบนักศึกษาทำกันถึงขนาดที่ในอดีตมีนักศึกษาคนหนึ่งเคยประชดด้วยการสวมเน็คไทค์ 3 เส้น เข้าไปสอบเลยทีเดียว แต่เวลานี้เรื่องแบบนั้นคงถูกลืมเลือนไปแล้วเมื่อเรื่อง เครื่องแบบกำลังถูกผู้มีอำนาจบางคนในมหาวิทยาลัยนำมาใช้ควบคุมแนวทางชีวิตและชี้นำความดีให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งเสรีภาพแห่งนี้ ถึงขนาดที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยคนหนึ่งต้องไปออกรายการทีวีเพื่อบอกว่าชุดนักศึกษาควรใส่อย่างไร 

สิ่งที่เกิดขึ้นล้วนสะท้อนการสร้างระบบสายอำนาจแบบผู้น้อยหมอบกราบกรานผู้ใหญ่ โดยการให้สวม เครื่องแบบ คือจุดเริ่มต้นของกระบวนเหล่านั้นที่ไม่แตกต่างไปจากกระบวนการสร้างทหารหรือตำรวจ สิ่งที่แปลกคือสังคมไทยนำกระบวนการทางอำนาจที่ไม่เสริมสร้างการคิดนอกกรอบหรือการคิดที่แตกต่างนี้มาใช้จัดการการเรียนรู้ตั้งแต่การเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล การหมอบกราบกรานทำกันไปจนสู่รั้วมหาวิทยาลัยแม้จะมีวัยวุฒิหรือวุฒิภาวะที่มากขึ้นขนาดไหนก็ตาม 

แต่คงจะดีกว่าไม่ใช่หรือ หากทำให้การก้าวสู้รั้วมหาวิทยาลัยคือก้าวที่เข้าสู่การมีวุฒิภาวะในการตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง คือก้าวของการเรียนรู้ที่มีอิสระ มีเสรีภาพทั้งทางวิชาการหรือการใช้ชีวิต มีเรียนรู้จากการ ทำผิดและ ทำถูก มีเรียนรู้จากการเห็นที่แตกต่างและถกเถียงกัน เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาสร้างสรรองค์ความรู้ เป็นการแตกยอดความคิดที่จะพาสังคมก้าวไปข้างหน้า ทว่าในเมื่อแม้แต่ระบบแยกแยะความดียังต้องถูกชี้นำจากอำนาจสูงสุดและเป็นความจริงสูงสุดแบบนี้แล้ว สังคมไทยจะหนีวังวนแห่งการใช้อำนาจเหยียบย่ำกันได้อย่างไร  

หรือความจริงแล้ว บรรดาผู้ประสาทวิทยาและผู้มีอำนาจในมหาวิทยาลัยจะรู้ตัวเองดีว่าไม่มีปัญญาจะสอนอะไรมากว่าในตำราที่ถือไว้และท่องได้มากว่าคนอื่นซึ่งหากปล่อยให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่แตกต่างออกไปก็จะทำให้สูญระบบสายอำนาจแบบหมอบกราบตามวัฒนธรรมไป จึงต้องเริ่มต้นสร้างระบบสายอำนาจและฝังเป็นเมล็ดพันธุ์ชั่วร้ายให้สังคมไทยต่อไป ดังนั้น วันแรกที่นักศึกษาต้องเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยจึงต้องรีบนำ เครื่องแบบนักศึกษาไปสวมไว้ เพราะมันยังชินกับอำนาจกดทับเมื่อยังเรียนมัธยม มันเป็นสัญลักษณ์ของการสั่งได้และอำนาจที่เหนือกว่าเมื่อสวมมันไว้

การต่อยอดอำนาจทันทีในมหาวิทยาลัยแบบนี้จึงเป็นการสร้างกระบวนการหมอบกราบตามระบบวัฒนธรรมอำนาจแบบไทยให้คงอยู่ทุกระดับและนักศึกษาจะกลายเป็น ผลิตภัณฑ์ชั้นดีของโครงสร้างสังคมแบบอำนาจนิยม นอกจากนี้ เครื่องแบบนักศึกษาในสังคมไทยยังไม่ต่างอะไรไปจากการกำกับยศชั้นแบบตำรวจหรือทหารอีกด้วย ความเป็นชนชั้นจะถูกกำกับทันทีเมื่อสวม เครื่องแบบความแตกต่างกันของเข็มตุ้งติ้งหรือหัวเข็มขัด ความแตกต่างของสีกางเกงหรือกระโปรง ความแตกต่างของรองเท้าเก่าๆกับรองเท้าหนังใหม่ๆ ของมหาวิทยาลัยหนึ่งจะถูกนำไปจัดลำดับยศชั้นหรือลำดับทางชนชั้นกับมหาวิทยาลัยอีกแห่งหนึ่งเสมอ  

เครื่องแบบนักศึกษาจึงกำลังนิยามคุณค่าของ นักศึกษาแบบใดกันแน่ ที่โหดร้ายยิ่งไปกว่านั้น เครื่องแบบนอกจากใช้เป็นเครื่องกำกับชนชั้นทางสังคมแล้ว ในบางสถานการณ์ยังสามารถใช้จำแนกแยกแยะความเป็นอริศัตรูที่ต้องทำสงครามกันด้วยโดยไม่ว่าจะคุณรู้จักกันกับอีกคนหนึ่งในเครื่องแบบของศัตรูหรือไม่ เรื่องแบบนี้คงไม่ต้องอธิบายมากความเพราะวาทกรรมคำว่า เด็กช่างกลหรือ เด็กอาชีวะคงจะอธิบายในตัวมันเองผ่านสื่อต่างๆมามากพอแล้ว 

ทิ้งท้ายอีกนิด กับคำถามเรื่อง คุณธรรมกับ อำนาจผมมักสงสัยเสมอๆว่า ทำไมสังคมจึงมักตั้งคำถามถึงการคงไว้ซึ่งของระบบรับน้องในมหาวิทยาลัยไทยแต่ไม่ตั้งคำถามอะไรเลยกับเรื่องการบังคับใส่เครื่องแบบนักศึกษา ทั้งที่มันก็คือการใช้อำนาจแบบหนึ่งที่ไม่ต่างจาก การว้ากรวมไปถึงเป็นการสร้างเงื่อนไขทางสายอำนาจเช่นเดียวกัน 

เพราะจุดเริ่มต้นของกระบวนการรับน้องจะเริ่มด้วยการการสั่งให้สวมชุด นักศึกษา ที่ถูกระเบียบเสมอ ซึ่งไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากคำสั่งของผู้มีอำนาจในสังคมไทยที่ออกคำสั่งมาเป็นระเบียบต่างๆ และปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นกระบวนการการใช้ อำนาจในรูปแบบเดียวกัน จะบอกว่าการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจในสังคมไทยหรือการใช้โดยครูบาอาจารย์แล้วจะ ดีกว่าหรือ มีคุณธรรม มากกว่าการที่นักศึกษาใช้อำนาจกันเองกระนั้นหรือ  แบบนี้แล้ว คำว่า ดีกว่าหรือ มีคุณธรรมมากว่าในสังคมไทยจึงหมายถึงการมี อำนาจมากกว่าดังที่กล่าวมาหลายรอบแล้วใช่หรือไม่ 

หากวันนี้สังคมยังไม่เอา เครื่องแบบออกจากร่าง นักศึกษาผู้ที่สังคมยกให้เป็น ปัญญาชนล่ะก็ คิดว่าไม่ว่าต่อไปอีกนานเท่าใด สังคมไทยคงจะไม่มีวันเลิกตอแหลความจริงอันอัปลักษ์ทางวัฒนธรรมของตัวเองได้ครับ    

เผยแพร่ครั้งแรกใน thongnoi.prachatai.com วันที่ 14 ก.ค. 50 แก้ไข 26 ก.ค. 50  

Secular State : อินเดียไม่ประกาศให้ศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ

ประเด็น ศาสนาประจำชาติเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในสังคมไทยที่อยู่ในภาวะแตกแยกทางความคิดมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สยามเวลานี้ อีกทั้งยังเป็นช่วงเวลาของการร่างรัฐธรรมนูญใหม่อันหมายถึงฐานรองรับกฎหรืออำนาจชอบธรรมสูงสุดครั้งใหม่เช่นกัน เพราะไม่ว่าอย่างไรศาสนา ศาสนาก็คือเรื่องของความเชื่อหรือศรัทธาที่สามารถแปรเปลี่ยนสู่การเป็นเครื่องมือของผู้ใช้อำนาจนำได้เสมอมา

อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องศาสนาเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพหุสังคมหรือพหุวัฒนธรรมเช่น สยามประเทศ  ARCHAEO 45 จึงของบทสัมภาษณ์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี ที่ลงในเว็บไซต์ ประชาไทมานำเสนอเต็มๆในพื้นที่นี้อีกทางหนึ่ง เพื่อนำไปสู่การถกเถียงหรือชวนคิดอย่างมีเหตุผลตามหลักการแห่งศาสนาทุกศาสนา

ดร.เชษฐ์ ติงสัญลี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

สัมภาษณ์โดย ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง

บนโลกใบนี้ ประเทศที่มีความแตกต่างหลากหลายทางความคิดความเชื่อมากที่สุดประเทศหนึ่งคงหนีไม่พ้นประเทศอินเดีย และบนความแตกต่างมากมายนี้ก็ไม่เคยประกาศยกให้ศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ แม้ว่าจะมีพลเมืองมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาฮินดู อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ นับตั้งแต่ประเทศอินเดียก่อตั้งเป็นประเทศและมีรัฐธรรมนูญหลังจากการได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ คนในประเทศอินเดียกลับไม่เคยฉีกรัฐธรรมนูญเลยสักครั้ง แม้จะมีความแตกต่างกันมากมายและแตกตัวออกไปเป็นรัฐต่างๆ กว่า 20 รัฐ  ในโลกใบนี้เช่นกัน ประเทศที่มีความคล้ายคลึงอินเดียมากที่สุดประเทศหนึ่งก็คือ ประเทศไทยโดยเฉพาะด้านที่มีความแตกต่างหลากหลายทางความคิดความเชื่อมากมายมาอยู่ร่วมกัน อีกทั้งลัทธิความเชื่อ ศาสนา รูปแบบการเมืองการปกครองต่างๆ ตั้งแต่สมัยอดีตกาลมาก็ล้วนรับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดียไม่มากหรือน้อยเกินไป ผสมผสานกลมกลืนกันมาจนกลายมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ทว่าในเวลานี้กลับเลือกมองข้ามแนวทางจัดการความแตกต่างแบบอินเดียอย่างไม่คิดจะเหลือบแลแม้จะแค่ให้เป็นกรณีศึกษา

ทำไมดินแดนแรกจึงดำรงเอกภาพบนความแตกต่างไว้ได้อย่างมีเอกลักษณ์และมั่นคงสถาพร ในขณะที่อีกประเทศหนึ่งกลับพยายามเชิดชูศาสนาหนึ่งขึ้นมาบนกฎหมายสูงสุดของประเทศและฉีกรัฐธรรมนูญไปแล้วไม่รู้ต่อกี่ครั้ง  บางทีเราอาจต้องย้อนทางกลับไปสู่เส้นทางที่เดินมาบ้าง เพื่อทบทวนอะไรบางอย่างที่อาจสูญหายไประหว่างทาง

ประชาไทขอนำผู้อ่านกลับไปสู่รากเหง้าทางความเชื่อและศาสนา จากประเทศอินเดียสู่ประเทศไทย ผ่านคำสัมภาษณ์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เดินทางกลับมาจากอินเดียดินแดนหลากอารยธรรมหมาดๆ หลังเก็บความรู้ ความคิดและความหลังในดินแดนภารตะมาถึง  4 ปีเต็ม  

โปรดพิจารณาความเหมือนบนความต่าง….แล้วโปรดกลับมาพิจารณาทบทวนกันอีกทีว่าศาสนาประจำชาติ คือคำตอบของการรักษาศาสนาจริงหรือ

000

ฐานความเชื่อทางศาสนาของชาวอินเดียในปัจจุบันมีลักษณะอย่างไร

ปัจจุบันคนอินเดียนับถือศาสนาฮินดูประมาณ 80 เปอร์เซ็น นับถือศาสนาอิสลาม 10 เปอร์เซ็น นอกนั้นเป็นศาสนาอื่น เช่น ซิกส์ พุทธ เชน หรือที่มีบ้างเล็กๆ น้อยๆ เช่น คริสต์ และโซโลฮัสเตอร์

ทุกศาสนามารวมกันที่อินเดียมาตั้งแต่สมัยโบราณ อย่างศาสนาคริสต์ไม่ใช่เพิ่งเข้ามาตอนในอินเดียช่วงตกเป็นอาณานิคมอังกฤษ แต่เชื่อว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยเซนต์โธมัสหรือหลังจากที่พระเยซูโดนตรึงกางเขน อย่างไรก็ตาม ตรงนี้อาจจะบอกเล่ากันเกินจริงไป แต่อย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจฬะ(พุทธศตวรรษที่ 15 – 19) ศาสนาคริสต์เข้ามาแล้ว หลักฐานจะมีลักษณะเป็นเรื่องเล่า แต่สำหรับหลักฐานที่เป็นจารึกไม่แน่ใจว่ามีหรือไม่ ศาสนาคริสต์ยุคเก่าๆ เช่น คริสต์จากซีเรียหรือเปอร์เซียที่ภายหลังได้รับการกดดันจากศาสนาอิสลามก็ย้ายมายังอินเดียด้วย

สรุปแล้วศาสนาไหนก็ตามแม้แต่จากเอเชียตะวันตกก็จะมายังอินเดียทั้งหมดจนคล้ายเป็นแอ่งรองรับความเชื่ออย่างพวกโซโลฮัสเตรียนหรือศาสนาดั้งเดิมตามแถวเปอร์เซียที่นิยมบูชาไฟก็ย้ายมาแถวๆ รัฐคุชราต แต่ในขณะเดียวกันภายในอินเดียเองก็มีความเชื่อตัวเองอยู่ก่อนด้วย

ความเชื่อตั้งแต่ดั้งเดิมในอินเดียที่ว่าเป็นอย่างไร

รากฐานความเชื่อดั้งเดิมในอินเดียมาจากศาสนาพระเวท เป็นศาสนาแรกที่มาจากตะวันตกนอกอินเดีย(เอเชียกลาง) แล้วเข้ามาเจอกับศาสนาพื้นเมืองที่โมเหนโช-ดาโร ของอินเดีย (อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ราว 2,000 ปีก่อนพุทธกาล )  

ศาสนาพื้นเมืองของอินเดียนับถือเทพธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เพราะโมเหนโช-ดาโรเป็นอารธรรมเกษตรกรรมจึงจะนับถือดินหรือสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ได้แก่ สัญลักษณ์อวัยวะเพศหญิง สัญลักษณ์อวัยวะเพศชาย เช่น ศิวลึงค์ โยนี หรือพระแม่ธรณี

ส่วนศาสนาพระเวทที่เข้ามาผสมโดยพวกอารยันในเวลาต่อมานั้นแม้จะเชื่อเทพธรรมชาติเช่นกัน แต่เป็นเทพธรรมชาติตามอารยธรรมที่เป็นสังคมเร่ร่อน การเร่ร่อนไปมาจึงต้องสู้รบไปด้วยจึงนิยมนับถือพระอินทร์เพราะเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง เวลากลางคืนพวกเร่ร่อนจะตั้งเตนท์แล้วก็ก่อกองไฟตรงกลางเพื่อป้องกันสัตว์ร้ายก็จะนิยมนับถือพระอัคนีด้วย ลักษณะความเชื่อจะเป็นอะไรแบบนี้

ทั้ง 2 อารยธรรมแม้จะนับถือเทพธรรมชาติเหมือนกันแต่ตั้งอยู่บนวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่ต่างกัน พอมาเจอกันก็ดูดกลืนความเชื่อกันไป โดยเฉพาะการทำให้คนนอกศาสนาพระเวทเข้ามาเชื่อศาสนาพระเวท ดังนั้นพอศาสนาพระเวทเข้ามาอินเดีย พวกเทพสูงสุดดั้งเดิมเช่น พระสุริยะ พระอินทร์ ก็ตกยุค แต่เกิดตรีมูรติหรือเทพสูงสุด 3 องค์ขึ้นมาแทนได้แก่ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม

ประเด็นคือ หลังการผสมผสานทางความเชื่อครั้งนี้ทำให้เกิดความเชื่อว่า ถ้าอยากมีชีวิตที่ดีต้องบูชาเทพ บูชาแล้วจะได้ชีวิตที่ดีทั้งโลกนี้และโลกหน้า ต่อมาภายหลังเกิดการคลี่คลายทางความคิดเป็นความคิดใหม่ว่า น่าจะหลีกหนีสังคมไปอยู่ป่าแล้วติดต่อกับพระเจ้า การหลุดพ้นไม่ใช่การอยู่ในสังคม เมื่อมาวิเคราะห์ผนวกไปกับกับลักษณะฤดูในอินเดีย ฤดูในอินเดียมันรุนแรงมาก ฤดูหนาวก็ติดลบไปเลย แต่พอฤดูร้อนก็ขึ้นสูงไปถึง 50 องศา แล้วก็กลับมาหนาวอีกมันคล้ายเป็นวงกลม ความคิดเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดจึงเกิดขึ้นมา ความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดนั้นไม่มีในความเชื่อของชาวอารยันดั้งเดิม ไม่มีบ่งบอกในพระเวท

นั่นคือรากกำเนิดของศาสนาฮินดูหรือศาสนาหลักในอินเดียที่สืบทอดมาจนปัจจุบัน แล้วศาสนาพุทธเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

พอคนเริ่มเปลี่ยนความคิดว่า หากอยากได้อะไรให้ก่อไฟบูชายัญเป็นหลีกลี้สังคมไปบำเพ็ญตบะหรือบำเพ็ญจิตใจให้บริสุทธิ์ก่อนเข้าไปรวมกับพระเจ้า แนวคิดนี้ปูพื้นฐานให้ศาสนาพุทธ

การเข้าไปรวมกับพระเจ้าของฮินดูคือตัวตน เรียกว่า อาตมันหรือพรหมมัน  คือเรามีตัวตนของเราเป็นวิญญาณเรียกว่าอัตตา ในภาษาสันสกฤตเรียกว่าอาตมัน แล้วก็มีวิญาณอันใหญ่อาจเรียกว่าอัตตาอันยิ่งใหญ่ที่สร้างโลกหรืออะไรก็ตามในโลกเรียกว่า ปรมาตมันรากศัพท์มาจากคำว่า บรมบวกกับ อาตมันดังนั้น ถ้าตายแล้วจิตใจยังไม่บริสุทธิ์มันก็เวียนว่ายตายเกิด จนจิตใจหมดสิ้นจากกิเลสแล้วค่อยไปรวมกับปรมาตมัน

คงจำได้ ก่อนเกิดศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าไปเรียนกับอาจารย์พราหมณ์ในป่ามาก่อน แม้จะได้พื้นฐานแต่พระพุทธเจ้าต่อยอดออกไป เช่น ในขณะที่พราหมณ์ไปบำเพ็ญตบะในป่าแต่ก็ยังฆ่าสัตว์บูชายัญ แนวทางพระพุทธเจ้าจะไม่เห็นด้วยกับตรงนี้  นอกจากนี้เวลานั้นแนวคิดการนับถือพระเจ้าได้พัฒนาไปสู่การนับถือพระเจ้าสูงสุดแล้วคือการไปรวมกับพรหมมัน แต่พระพุทธเจ้าเห็นว่าทุกอย่างมันไม่มีตัวตน มันตรงข้ามกัน

แล้วทั้ง 2 ศาสนาอธิบายสังคมต่างกันหรือไม่

ในศาสนาฮินดูมีเรื่องวรรณะ ทฤษฎีเดิมเชื่อว่าแยกกันด้วยเรื่องสีผิว คือแบ่งแยกสีผิวคนอารยันกับฑราวิกหรือคนพื้นเมือง แต่ภายหลังมีอีกทฤษฎีที่มาอธิบายว่าวรรณะแบ่งกันตามอาชีพที่ประมาณว่ามาจากการหวงวิชา แล้วถ่ายทอดกันไปเฉพาะกลุ่ม

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีเก่าที่ว่าแยกตามสีผิวต้นทฤษฎีมาจากความหมายของคำว่า วรรณะที่แปลว่า สีกลายเป็นทฤษฎีที่แบ่งแยกระหว่างชาวอารยันกับฑราวิก ส่วนทฤษฎีการแบ่งตามอาชีพนั้นอธิบายต่อว่าเมื่อแบ่งหน้าที่ทางสังคมแล้ว พื้นฐานของสังคมทั่วไปคือการเหยียดกันระหว่างอาชีพกับอาชีพด้วย แนวคิดนี้ทำให้ตกต่ำลงจนทำให้ศาสนาพุทธถีบตัวขึ้นมาจากการปฏิเสธแนวคิดนี้

กฎทางสังคมถ้าไม่เอาไปผูกกับแนวคิดทางศาสนามันก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าไม่ศักดิ์สิทธิ์คนก็แก้ไขได้จริงหรือไม่ เหมือนรัฐธรรมนูญถ้าเป็นแค่กฎหมายเป็น  Secular (เรื่องทางโลก) มันไม่ศักดิ์สิทธิ์คนแก้ได้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่บอกว่า กฎหมายนี้มาจากพระเจ้า ดังเช่น กฎในไบเบิ้ล บัญญัติ 10 ประการที่มาจากพระเจ้า ถามว่าแก้ได้หรือ

ความต่างระหว่าง Holy Law (กฎหมายศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับศาสนา) กับ Secular Law (กฎหมายทางโลก) คือการบวกความศักดิ์สิทธ์เข้าไป ดังนั้น เรื่องวรรณะถ้าจะให้คนเชื่อก็เอาไปบวกกับศาสนา เมื่อมันศักดิ์สิทธิ์คนก็ไม่สามารถแก้ได้จึงต้องเอาศาสนาอีกศาสนาหนึ่งมาแก้ ดังนั้น อยู่ดีๆถ้าใครจะมาบอกว่าล้มระบบวรรณะนั้นทำไม่ได้

ในช่วงเวลาหนึ่งศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูเจริญแข่งกันมาในอินเดีย แล้วทำไมศาสนาพุทธจึงเสื่อมสลายไปจากอินเดียในปัจจุบัน

อาจเพราะศาสนาพุทธพัฒนาตัวเองเข้าไปใกล้ศาสนาฮินดูทุกทีๆ  มันคล้ายกับการขายสินค้า พอขายสินค้ามันก็ต้องเลียนแบบกัน พอเลียนแบบมากๆเข้าแบบพอซื้ออันนี้จากแหล่งนี้ อีกแหล่งก็บอกว่ามีเหมือนกัน มันปรับตัวลดแลกแจกแถมกันไปให้คนซื้อรู้สึกว่าได้เลือกสิ่งที่ดีกว่า

ในสมัยก่อนศาสนาฮินดูกับศาสนาพุทธต่างกัน แต่ศาสนาพุทธเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว เราไม่สามารถขออะไรจากพระพุทธเจ้าได้ เพราะถือว่าหายไปแล้ว ส่วนศาสนาฮินดูบอกว่ามีพระเจ้า มีความทุกข์ร้อนอะไรก็ขอจากพระเจ้าได้ ดังนั้น หากไม่ได้เรียนรู้ทางปรัชญามาก็จะเข้าไปขอ เขาก็จะบอกว่าแบบนี้ฮินดูก็ดีกว่าสิ พุทธก็เลยสร้างพระโพธิสัตว์ขึ้นมาแข่ง แตกออกมาเป็นมหายานเลย ใช้ทำหน้าที่แทนพระเจ้า

ทางฮินดูพอเห็นแบบนี้ก็ยิ่งทำให้มีอิทธิฤทธ์มากมายขึ้น พุทธก็ทำบ้างมีหลายมือหลายตา พอฮินดูบอกมีศักติ พุทธก็บอกว่ามีนางปรัชญา ก็แข่งกันไป

แนวคิดนี้นำมาสู่กับนับถือพุทธศาสนานิกายตันตระที่สูงมากขึ้นในอินเดีย เพราะการแข่งขันทำตลาดความเชื่อใช่หรือไม่

ใช่ แต่มันมีสองแนวคิดเกี่ยวกับการสลายของศาสนาพุทธในอินเดีย คือ ศาสนาพุทธเสื่อมลงจนกระทั่งไปคล้ายฮินดูมากขึ้นทุกที จนถูกมองว่าแม้จะไม่มีสงครามกับศาสนาอิสลามในอินเดีย  คนก็จะทิ้งศาสนาพุทธไปเอง แต่ในอีกมุมหนึ่งบอกว่าถ้าเสื่อมจริงทำไมทิเบตจึงรับศาสนาพุทธแบบมีพระโพธิสัตว์ไปแล้วยังสืบต่อศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองได้ ประเด็นคือแม้ศาสนาอิสลามจะเข้ามาพัฒนาการของศาสนาพุทธก็ไม่จบไปแต่กลับเข้าไปในทิเบตแล้วพัฒนาต่อ

แต่หากมองพัฒนาการพุทธศาสนาในอินเดียจะเห็นว่าต่างจากนิกายเถรวาทในประเทศไทย

เป็นความต่างในการใช้เครื่องมือ พุทธตันตระมีหลักคิดเกี่ยวกับเครื่องมือในการทำสมาธิ เช่น ภาพมณฑล(ที่อยู่ของเทพ) ประติมากรรมที่อาจเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง แล้วใช้เทพองค์นั้นเป็นเครื่องมือในการทำสมาธิ แต่เมื่อถึงขั้นสุดท้ายก็ปฏิเสธว่าแม้แต่เทพองค์นั้นก็ไม่มี ทุกอย่างเป็นมายา

เทพเป็นเครื่องทำสมาธิที่เหมือนกับการจำลองรูปของสิ่งที่ไม่มีรูปหรือไม่มีตัวตัวตนออกมา พอเราเพ่งจนเป็นอารมณ์ ประติมากรรมหรือภาพมณฑลนั้นจะอยู่ในใจเรา จนเราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเทพหรือมณฑลอันนั้น ในที่สุดเราก็จะรวมกับเทพองค์นั้น มันเหมือนกับเลียนแบบฮินดู แต่ท้ายสุดคือขอให้รู้ว่าแบบนั้นมันก็เป็นอนัตตา ขอให้รู้ว่าทุกอย่างที่ทำขึ้นมานั้นไม่มีจริง ให้สำนึกรู้เอาเองว่าคือมายา 

แสดงว่าอินเดียมีความเชื่อที่หลากหลายจนเป็นพหุสังคม แล้ววิธีการจัดการความต่างทางความเชื่อไม่ให้มีความขัดแย้งเป็นอย่างไร

สมัยโบราณกษัตริย์จะเลือกนับถือศาสนาโดยเฉพาะศาสนาฮินดู เพราะเป็นฐานให้อำนาจกับกษัตริย์ได้ อาจสามารถอ้างตัวเองได้ว่าพระเจ้าเลือกมาบ้าง เป็นบุตรแห่งพระเจ้าบ้าง ก็ว่ากันไป ดังประติมากรรมกษัตริย์ในราชวงศ์กุษาณะ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 6- 9 ) ที่พิพิธภัณฑ์มถุรา ที่ฐานจะมีจารึกเขียนว่าฉันเป็นลูกแห่งเทวดา หรือเหรียญต่างๆในสมัยนั้นจะแสดงให้รู้ได้เลยว่ากษัตริย์นับถือศานาฮินดู เช่น กษัตริย์กุษาณะยืนแล้วมือหนึ่งเอาของโยนในกองไฟ คงเป็นเรื่องการบูชาเทพเจ้า หรือแม้แต่กษัตริย์ในราชวงศ์คุปตะ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 8 -10 ) ก็พบหลักฐานลักษณะคล้ายกัน

แต่ขณะเดียวกันกลับปรากฏว่าในสมัยราชวงศ์คุปตะ ประติมากรรมในศาสนาพุทธกลับรุ่งเรืองและพบมากมาย อาจเพราะกษัตริย์ถือนโยบายอุปถัมป์ทุกศาสนา หรือแม้แต่ช่วงหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 11 -14 ) เมืองหลวงของราชวงศ์วกาฏกะสร้างแต่ศาสนสถานฮินดู แต่ช่วงนั้นกลับมีขุนนางคนหนึ่งจะสร้างถ้ำอชัญตา (ถ้ำที่เป็นสังฆารามทางพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งในสมัยโบราณประกอบด้วย 28 ถ้ำ มีทั้งภาพจิตรกรรมและประติมากรรมในพุทธศาสนา – ประชาไท) กษัตริย์ก็เปิดทาง

แต่ก็เหมือนกันมีที่กษัตริย์บางพระองค์ถือนโยบายศาสนาประจำราชวงศ์ จนสั่งทำลายวัดอื่นอย่างราชวงศ์ปัลลวะหรือโจฬะ ศาสนาประจำราชวงศ์เป็นฮินดู ไศวะนิกาย กษัตริย์บางพระองค์จะสั่งทำลายไวษณพนิกาย ในจารึกหนึ่งบอกว่า จงเอานารายณ์บรรทมสินธุ์ไปทิ้งทะเล เพราะว่าทะเลเป็นที่อยู่นารายณ์บรรทมสินธุ์ให้ไปอยู่ในที่นั้นก็แล้วกัน ผู้นับถือไวษณพนิกายก็เลยต้องหนีไปที่อื่น

แต่ความขัดแย้งที่มารุนแรงจริงๆคือ เมื่อศาสนาอิสลามเข้ามาด้วยสงคราม แต่สุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไปในระยะหลัง กษัตริย์อิสลามพระองค์หลังๆกลับเริ่มเข้าใจว่าไม่สามารถสร้างอิสลามบริสุทธิ์ในอินเดียได้ ตรงนี้แสดงความเข้มแข็งมากของวัฒนธรรมอินเดีย กษัตริย์อิสลามจึงต้องมาคิดว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ตัวอย่างสำคัญคือพระเจ้าอักบาร์ แห่งราชวงศ์โมกุล (พุทธศตวรรษที่ 21 -23 ) จะไม่มีการไปต่อต้านฮินดูอีก และคิดไปถึงขนาดที่จะเอาหลักดีๆของศาสนาอื่นมารวมกัน นอกจากนี้กษัตริย์แคว้นคุชราตบางคนแม้จะเป็นอิสลามก็แต่งงานกับมเหสีชาวคริสต์บ้าง ฮินดูบ้าง อย่างกษัตริย์พระองค์หนึ่งพอสวรรคต เจ้าหญิงฮินดูที่แต่งงานด้วยก็สร้างมัสยิดถวาย ตัวมัสยิดเองก็ใช้ชื่อภาษาสันสกฤตด้วย

แสดงว่าในวัฒนธรรมอินเดียในอดีตแม้จะมีความขัดแย้งเพราะความเชื่อใหม่หรือศาสนาเข้ามา แต่ก็ใช้ความหลากหลายเป็นรากฐานวัฒนธรรมทำให้มีความเข้มแข้ง และเกิดการประนีประนอมกันมากกว่าเกิดการประหัตถ์ประหารกัน  แล้วในปัจจุบันจัดการความแตกต่างต่างจากในอดีตหรือไม่ 

เมื่อเกิดประเทศอินเดียขึ้นก็ระบุเลยว่าอินเดียเป็น Secular State (ประเทศที่ไม่เน้นเรื่องศาสนาหรือมีศาสนามาครอบงำทางการเมือง) หรือประเทศที่ไม่ถือว่าศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ เพื่อให้ชนกลุ่มน้อยมีตัวตนขึ้นมา ถ้าเขียนว่าฮินดูเป็นศานาประจำชาติจะทำให้ทุกคนต้องนับถือฮินดู หรือกฎหมายทุกอันต้องออกมาสอดคล้องรองรับความเป็นฮินดู

ถ้าอินเดียยึดถือประชากร 80 เปอร์เซ็นแล้วประกาศศาสนาฮินดูเป็นศาสนาประจำชาติ ระบบวรรณะก็จะยังคงอยู่ คนที่นับถือศาสนาอื่นอาจจะไม่มีสิทธิในสภาหรือไม่มีวันหยุดราชการเป็นของตนเอง ไม่สามารถใช้ภาษาตนเองเป็นภาษาราชการได้

ปัจจุบันภาษาราชการในอินเดียมี 15 ภาษา หนึ่งในภาษานั้นก็มีอูระดูซึ่งเขียนด้วยตัวอาหรับ ถ้าคนมุสลิมไม่สามารถเขียนอักษรเทวนาครีได้ก็สามารถใช้อักษรอาหรับเป็นภาษาติดต่อราชการได้ ภาษาทั้ง 15 ภาษาจะแบ่งตามเชื้อชาติ ทั้งนี้ ประเทศอินเดียแบ่งออกเป็น 20 รัฐที่ใช้ภาษาต่างกัน แต่ละรัฐจะภูมิใจในศาสนาของตัวเอง ดังนั้น เมื่อเข้าไปในแต่ละรัฐก็เหมือนเปลี่ยนประเทศใหม่ แต่ในธนบัตรเขาจะพิมพ์ภาษาทั้ง 15 ภาษาลงไป หรือวันหยุดราชการก็จะหยุดทุกศาสนาเพื่อให้ทุกศาสานาเท่าเทียมกัน ดังนั้นแม้เป็นชนกลุ่มน้อยก็สามารถประกอบพิธีของเขาได้

ประเทศอินเดียยอมรับกันในความต่างสูงมาก มิฉะนั้น อินเดียนยูเนี่ยนหรือสหพันธรัฐอินเดียตามศัพท์เดิมที่มหาตมะคานธีตั้งก็ไม่สามารถรวมกันได้ การเป็น Secular State แล้วก็ทำให้สังคมสมานฉันท์กัน

แล้วถ้าเปรียบเทียบลักษณะร่วมและลักษณะที่แตกต่างระหว่างอินเดียกับไทย

ลักษณะร่วมคือเป็นสังคมหลากหลายเหมือนกัน ประเทศไทยมีทั้งคนนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ หรือศาสนาอื่นๆมาอยู่ร่วมกัน เพียงแต่เรากลับรู้สึกว่าแกนของเมืองไทยคือศาสนาพุทธและจะต้องหยุดที่ความสำคัญของศาสนาพุทธเท่านั้น ต้องใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการเท่านั้น คนไทยชอบไปมองต่างประเทศที่คิดว่าเป็นอารยะแล้วแต่ไม่มองประเทศที่มีลักษณะพื้นฐานคล้ายๆกัน

ลักษณะสังคมไทยก่อนที่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจะเข้ามาก็เคยอยู่กันด้วยความหลากหลาย เช่น สมัยทวารวดี พุทธศาสนานิกายเถรวาทก็อยู่กับนิกายมหายานได้ ฮินดูก็อยู่ร่วมกันทั้งไศวนิกายและไวษณพนิกาย และยังมีนับถือผีอีก แต่อยู่ร่วมกันได้

ในจารึกสุริยวรมันที่ 1 หรือจารึกศาลพระกาฬที่พบในจังหวัดลพบุรี กษัตริย์เหมือนเคยพูดว่าศาสนาทุกศาสนาอยู่ร่วมกันด้วยความสุข ประกาศคุ้มครองทุกศาสนา แม้ว่ากษัตริย์จะเป็นฮินดูไศวนิกายก็ตาม นอกจากนี้ก็อนุญาตให้สร้างปราสาทเป็นศาสนสถานพุทธได้(เนื้อความในจารึกศาลพระกาฬหรือจารึกหลักที่19  : (มหา) ศักราช 944 วันอาทิตย์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 พระบาทกัมรเดงกำตวน อัญศรีสูรยวรมทวะ มีพระบัณฑูรตรัส พระนิยมนี้ให้บุคคลทั้งหลายถือเป็น สมาจารคือกฎที่ต้องประพฤติปฏิบัติตามต่อไป

ในสถานที่อยู่ของดาบสทั้งหลาย หรือของผู้ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุมหายานก็ดี บวชเป็นสถวิระก็ดี ให้ท่านทั้งหลายที่บวชโดยจริงใจถวาย ตบะแก่พระบาทกัมรเดงกำตวญอัญศรีสูรยวรมเทวะ

ถ้าผู้ใดมาทำทุราจารใน ตโบวนาวาสต่างๆแลมารบกวนดาบสซึ่งถือโยคธรรม ไม่ให้สวดมนต์ถวายตบะแด่พระบาทกัมรเดงกำตวนอัญศรีสูรยวรมเทวะโปรดเกล้าฯให้จับผู้นั้นมาขึ้นศาลสภา เพื่อจะได้ฟังคดีที่ควรจะถูกตัดสินอย่างเคร่งที่สุด  : แปลโดยศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ – ประชาไท ) 

ศาสนาพุทธเนิกายเถรวาทเข้ามาในช่วงไหนและได้รับการยอมรับมากขนาดนี้ในประเทศไทยได้อย่างไร

เคยวิเคราะห์แบ่งช่วงประวัติศาสตร์ตรงที่พุทธศตวรรษที่ 19 เพราะเป็นช่วงที่ศาสนาพุทธและฮินดูในประเทศอินเดียเริ่มเสื่อมเนื่องมาจากศาสนาอิสลามกำลังรุกเข้าไปในช่วงนั้น ทำให้ภูมิภาคแถบเราคงติดต่อกับทางอินเดียได้ยาก จึงต้องไปติดต่อกับทางลังกาที่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ความนิยมนิกายเถรวาทจึงเข้ามาในช่วงนี้

ช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 โลกมันเปลี่ยนแปลง ทางจีนก็เปลี่ยนเป็นราชวงศ์หยวนหรือมองโกลที่พยายามรุกมาทางพม่าด้วย เรื่องเหล่านี้มันสั่นคลอนหมดทั้งภูมิภาคและโลก ส่วนมุสลิมในอินเดียก็มีอิทธิพลเช่นกัน ทำให้อินเดียที่เคยเป็นแกนให้ภูมิภาคนี้ตลอดเกือบพันปีหายไป พอภูมิภาคเคว้ง พูดง่ายๆก็ต้องช่วยกันเอง ถ่ายทอดความเชื่อกันเอง เริ่มแรกก็รับความเชื่อจากลังกา พอแต่ละรัฐเริ่มมั่นคงขึ้นก็แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมความเชื่อกันภายในภูมิภาคภายใต้พื้นฐานความเชื่อในนิกายเถรวาท 

หลังการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดการจัดการทางความเชื่อที่ต่างกันอย่างไร

กรณีอินเดียที่เป็น Secular State ก็เปิดโอกาส แม้จะมีกฎหมายที่มีอิทธิพลของฮินดูแต่ก็มีกฎหมายที่มีอิทธิพลของอิสลามมาด้วย

สำหรับในประเทศไทยคิดว่าเป็นศูนย์กลางศาสนาพุทธแล้ว แต่ความจริงไม่ได้มองโลก ไม่ได้มองคนอื่นว่าเป็นอย่างไรและไม่ยอมรับความแตกต่าง แค่พุทธเองก็มีนิกายตันตระ มีพุทธแบบทิเบต เขาทำอะไรบ้างก็ไม่เคยรู้ เขามีวิธีคิดทางศาสนาที่ก็พัฒนาไปเรื่อยๆอย่างไร เราก็ไม่สนใจ มองว่าพุทธต้องเถรวาทเท่านั้นแล้วมองอีกว่ามุสลิมเป็นชนส่วนน้อย

หลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ศาสนาพุทธมีความแตกต่างกันมากมายไปตามแต่ละนิกาย แสดงว่าศาสนาพุทธเองแนวคิดก็ไม่ตกผลึกเป็นหนึ่งเดียว ทำให้มีการเมืองของนักบวชใช่หรือไม่ 

ตอนนี้เด็กทุกคนในประเทศไทยตกอยู่ภายใต้อำนาจของหลักสูตรการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาหรือ มัธยมศึกษา ซึ่งจะปั้นเด็กอย่างไรก็ได้ หลักสูตรเหล่านั้นบอกว่าเราต้องรักชาติจนเป็นชาตินิยมไป ปั้นแบบนี้ขึ้นมาจนประสบความสำเร็จ การปั้นพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มีคำนี้ในหนังสือเรียนซึ่งพอเด็กรับพื้นฐานนี้แล้วรู้ภายหลังว่าทำไมรัฐธรรมนูญจึงไม่มีระบุไว้ก็ช็อก นี่คือเด็กที่ได้รับการสร้างโมเดลเสร็จเรียบร้อย  คนไทยเวลาเรียนไม่ว่าอะไรก็ตามไม่ค้นคว้าต่อ สมมติผมสอนประวัติศาสตร์ศิลปะแล้วอ้างคัมภีร์อะไรขึ้นมา มีนักศึกษาที่กลับไปค้นว่าที่สอนมันมีในคัมภีร์นั้นจริงหรือไม่สักกี่คน ขนาดนักศึกษามหาวิทยาลัยเป็นแบบนี้ แล้วเด็กประถมหรือมัธยมจะค้นหรือว่ารัฐธรรมนูญบอกว่าเป็นพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติตามที่บอกไว้ในแบบเรียนหรือที่อาจารย์สอน  แต่ไม่แน่ใจว่าคนที่ร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้นมีความคิดเรื่องนี้หรือไม่ การไม่เขียนระบุพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญอาจจะเป็นเพราะมีความรู้เรื่อง Secular State ตั้งแต่แรก ต้องไปศึกษาที่มาของรัฐธรรมนูญว่าทำไมทุกฉบับจึงไม่ระบุให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  เกี่ยวกับ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี หลังไปใช้ชีวิตในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย 4 ปี เพื่อศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิต ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะจากสถาบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งประวัติศาสตร์ศิลปะการอนุรักษ์พิพิธภัณฑสถานวิทยา (National Museum Institute of History of Art Conservation and Museology)

4 ปี ในประเทศอินเดีย นอกจากความรู้ภาษาอย่างอังกฤษและภาษาสันสกฤตที่ต้องเรียนแทบทุกวันแล้ว ยังต้องศึกษาวิชาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศิลปะอินเดียโบราณ ศิลปะอินเดียเหนือและใต้สมัยกลาง ประติมานวิทยา พื้นฐานศาสนาต่างๆ ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ภูมิศาสตร์ เพื่อปูพื้นสู่การทำวิทยานิพนธ์เรื่อง สัตตมหาสถาน

ในช่วงเวลา 4 ปีนี้ ดร.เชษฐ์ไปสัมผัสพื้นที่อินเดียจนเรียกได้ว่าแทบทุกรัฐ ไม่ว่าจะจากคุชราตถึงเบงกอล หรือจากแคชเมียร์ถึงทมิฬนาดูเพื่อถ่ายรูปประติมากรรม สถาปัตยกรรม และเข้าพิพิธภัณฑ์ต่างๆ และเดินทางต่อไปยังลังกา บางครั้งก็ไปถึงปากีสถานหรือเนปาล

ดร.เชษฐ์ เล่าว่าเริ่มต้นเดินทางแบบนี้ก็ด้วยการอ่านหนังสือท่องเที่ยวและหนัสือวิชาการบ้าง อินเตอร์เน็ตบ้าง ซื้อหนังสือที่มีรูปบ้าง คนอินเดียมักเดินทางโดยรถไฟเป็นหลักก็หาวิธีการจองตั๋วแล้วจัดสรรเส้นทางเดินทาง หากศาสนสถานใดอยู่ไกลหรือไม่รู้ว่าอยู่ที่ใดก็สื่อสารด้วยภาษาถิ่นตามด้วยการชี้รูปในหนังสือที่ซื้อมาให้คนพื้นถิ่นดู

พ.ศ.2550 ดร.เชษฐ์ กลับสู่ประเทศไทยและเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทฤษฎีใหม่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ‘ยกสุโขทัยให้สยาม’

ที่มา :ผู้จัดการออนไลน์ 19 ก.พ. 50

อ่านเจอข่าวนี้ บางทีอาจจะต้องถกเถียงกันต่อในหลายๆทาง ทางหนึ่งนั้นเป็นทางวิชาการ แต่อีกทางหนึ่งในเรื่องประวัติศาสตร์การสร้างชาติแบบชาตินิยมซึ่งมีความอ่อนไหวสูงที่การพูดถึงเรื่องเหล่านี้ต้องประเมินผลกระทบทางความสัมพันะระหว่างประเทศพร้อมๆกับการมองเรื่องอคติทางชาติพันธุ์ด้วยเท่าที่ทราบมาเวลานี้ทางกัมพูชาเพิ่งผ่านยุควุ่นวาย การสร้างชาติให้เป็นเอกภาพเพื่อประโยชน์ทางการปกครองจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชนชั้นนำ การใช้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องหนึ่งในนั้นซึ่งประเทศไทยก็เคยใช้วิธีการแบบนี้มาแล้วจนทำให้เกิด มายาคติ ต่างๆที่ต้องแก้ไขเต็มไปหมดในเวลานี้…. 

ประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา ได้นำเสนองานวิจัยชิ้นใหม่ซึ่งทำให้นักวิชาการทั่วไปในกัมพูชาแสดงความไม่พอใจและตั้งข้อสงสัย โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (Jayavarman VII) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แฟ่งยุคเมืองพระนคร (Angkor Wat) นั้นเป็นกษัตริย์เชื้อชาติจาม มิใช่เขมร นอกจากนั้นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ชาวเขมรยกย่องมาทุกยุคทุกสมัย ยังได้ยอมยกดินแดนสุโขทัยของอาณาจักรเขมรแห่งอดีตให้แก่ “พวกสยามโบราณ” ประเด็นนี้จะสร้างความไม่พอใจให้แก่นักประวัติศาสตร์ค่ายความคิดอื่นในกัมพูชาแล้ว ประเด็นนี้ยังดูขัดประวัติศาสตร์ว่าด้วยการก่อตั้งกรุงสุโขทัยของไทย อีกด้วยอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ชาวเขมรด้วยกันเองไม่พอใจอย่างมากก็คือ ศ.วรรณสัก ระบุว่า อาณาจักรนครวัดล่มสลาย เนื่องมาจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 “สร้างวัดและปราสาทหินต่างๆ มากเกินไป” บีบบังคับให้ราษฎรต้องกลายเป็นแรงงานทาส ทำให้เกิดปัญหาข้าวยากหมากแพง และ พังทลายลงทุกระบบในอาณาจักรเมืองพระนครจนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีใครทราบว่า เพราะเหตุใดนครวัดกับนครธมที่ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 9-12 จึงล่มสลายไป และ ชาวเขมรเหล่านั้นหายไปไหนหมด เพราะเหตุใดจึงไม่มีการถ่ายทอด “อารยธรรมนครวัด” สืบต่อกันมา ในปี 2547 ได้มีนักวิชาการตะวันตกนำเสนอทฤษฎีเกิดโรคระบาด เกิดทุพภิกขภัย และ ภัยแห้งแล้งว่าเป็นเหตุทำให้อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องพังครืนลง ค่ายความคิดนี้ใช้วิธีศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาของโลก จากภาพถ่ายดาวเทียม ในการให้สัมภาษณ์วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาเขมรในวันเสาร์ (17 ก.พ.) ที่ผ่านมา ศ.วรรณสัก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในกรุงปารีส ได้ยืนยันในการค้นพบของตน โดยอ้างหลักฐานชั้นต้นชิ้นหนึ่งที่อยู่ในครอบครองและได้ศึกษาเรื่องนี้มาโดยตลอด

ยังไม่มีใครทราบรายละเอียดว่า ปราชญ์ทางด้านประวัติศาสตร์ชาวเขมรผู้นี้ มีหลักฐานชั้นต้นชนิดใดอยู่ในมือ แต่ก็เชื่อกันว่าหากเป็นเช่นนั้นจริงก็น่าจะเป็นศิลาจารึกหลักใหม่ที่ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั้น เป็นที่ยกย่องเทิดทูนของชาวเขมรมาทุกยุคสมัย ปราสาทหินนครวัดก็ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์บนธงชาติของกัมพูชาในทุกยุค กระทั่งในยุคที่ป่าเถื่อนที่สุด ช่วงที่พวกเขมรแดงขึ้นครองอำนาจ

ไม่ว่าพระองค์จะมีเชื้อชาติจามหรือเชื้อชาติอะไรก็ตาม แต่ที่แน่ๆ คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นกษัตริย์ชาวพุทธ ที่ชาวเขมรยุคใหม่ยกย่องให้เป็น “Chey Puth” (Chey= Jaya= Victory, Puth= Buddha) ซึ่งมีความหมายว่า พระพุทธเจ้าแห่งชัยชนะ (Victory Buddha) เป็นยิ่งกว่ากษัตริย์พระองค์หนึ่ง.

‘เอมี่ โชติรส’ : การ’ฆาตกรรมอนาคตหญิงสาว’ ด้วยอำนาจแห่ง ‘คำพิพากษา’

ปรากฏการณ์หลังประกาศรางวัลสุพรรณหงส์ครั้งที่ 16 สิ่งที่ได้รับการกล่าวถึงมากกว่าเรื่องใครได้หรือไม่ได้รับผลรางวัลกลับกลายเป็นเรื่องการแต่งชุดหวือหวาของดาราเสียมากกว่าโดยเฉพาะกรณีของ ‘น้องเอมี่ โชติรส’ถึงขนาดที่ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้มีศีลธรรมทางผิวหน้าบอบบางมากๆทนไม่ได้กับการที่ น้องเอมี่ นักศึกษา ‘ธรรมศาสตร์’ ต้องเป็นขี้ปากของสังคมในเรื่องการแต่งตัวจนต้องออกมากรี๊ดกร๊าดรับลูกและขยายความประเด็นให้ใหญ่โตขึ้นด้วยการยืนยันกับ ‘สื่อมวลชน’ ฐานันดรหนึ่งของสังคมที่ไม่รู้จะขายเรื่องอะไรอยู่แล้วว่าให้รองอธิการบดีหนุ่ม ปริญญา เทวานฤมิตรกุล เรียกน้องเอมี่มาพบ สุดท้ายมีการตักเตือนและให้ไปรับใช้สังคมด้วยการอ่านหนังสืออัดลงเทปให้ผู้พิการทางสายตายฟัง(วิธีการลงโทษน่ารักดี อย่างน้อยก็ดีกว่าให้ไปทำนา สงสารกลัวน้องเอมี่เหนื่อย)เพราะความหน้าบางทางศีลธรรมของอธิการบดีฉายาแสบสนิทศิษย์ส่ายหน้า(อ้างจาก Visible Man ประชาไท ประจำปี 2549) เรื่องเล็กๆที่จำกัดอยู่เพียงสังคมซุบซิบนินทาก็ขยายตัวกลายเป็นเรื่องระดับสังคมขึ้นมาทันที เนื่องจากการพูดของอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่ากับน้ำหนักการพูดที่บวกด้วยเกียรติภูมิทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งแต่การที่เคยมีคำว่า ‘และการเมือง’ พ่วงท้ายในสมัยแรกก่อตั้งโดย นายปรีดี พนมยงค์ ผู้มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยในเชิงหลักการอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (ผมยังไม่ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงใน พ.ศ. 2475 คือการเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงสู่การปกครองโดยทหารกลุ่มหนึ่งอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย 14 ตุลา 16 การสูญเสียใน 6 ตุลา 19 รวมทั้งเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ที่รองอธิการปริญญาก็เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนสำคัญใสมัยยังเป็นนักศึกษาที่รักสิทธิเสรีภาพ ประวัติศาสตร์เหล่านี้ตกผลึกจนกลายเป็นวาทกรรมเรียกขานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างเลื่องลือไปทั่วว่า ‘ในธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว’ในความภาคภูมิใจนั้นของบรรดาคนธรรมศาสตร์ ผมสัมผัสได้ดีจากการชิดใกล้และร่วมทำงานมาระยะหนึ่ง(ผมไม่ใช่คนธรรมศาสตร์) แต่ตอนนี้ไม่รู้ว่าเพื่อนๆพี่ๆของผมเหล่านั้นกำลังงงกับสิ่งที่เปลี่ยนไปในธรรมศาสตร์หรือไม่ หรือกำลังคิดว่ามองหาเสรีภาพจากนิ้วไหนดีระหว่างนิ้วมือกับนิ้วตีน(ฮา)เพราะความจริงแล้วเวลานี้ สิทธิเสรีภาพในธรรมศาสตร์กำลังถูกตั้งคำถามจากสังคมมากขึ้นหลายกรณี จะขอกล่าวถึงเฉพาะกรณีล่าสุดนี้ว่าการที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยที่มีพลังในการชี้นำและมีความคาดหวังสังคมสูงเช่นนี้ลงมาวิพากษ์วิจารณ์กรณีการแต่งตัวอันเป็นสิทธิส่วนบุคคลคนหนึ่งที่กำลังทำมาหากินโดยอาชีพสุจริตเพียงแต่บวกความเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเข้าไปโดยใช้ภูมิหลังของสถาบันที่มีต่อสังคมมาเป็นประเด็นสำคัญในการเอาผิด วิธีการนี้กำลังเป็นการ ‘ฆาตกรรมอนาคต’ ของหญิงสาวคนหนึ่งหรือไม่น้องเอมี่ที่น่ารักเพียงแต่แต่งตัวในชุดที่มีดีไซน์ของตัวเองโดยมีแรงบันดาลใจจากแฟชั่นตะวันตก รัดกุมในส่วนที่พึงรัดกุมและระวังตัวไม่หลุดในจุดที่ปาปารัชซี่จับจ้อง แสดงออกด้วยความกล้าคิดนอกกรอบในที่สาธารณะอันเป็นพื้นที่ของวงการบันเทิงไม่ใช่พื้นที่อย่างมหาวิทยาลัย(สวยหรือไม่เป็นอีกเรื่อง เพราะการมองความงามเป็นประเด็นทางสุนทรียศาสตร์ที่แต่ละคนมีวิธีมองต่างกัน) หากมองในด้านที่เป็นอาชีพดารานักแสดงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะใส่ชุดให้เป็นจุดสนใจไปร่วมในงานบนพื้นที่ของวงการบันเทิง ในขณะที่ในยามปกติเพื่อนๆเธอก็บอกว่าเอมี่จะใส่ชุดนักศึกษาที่ดูเรียบร้อย นิสัยเฟรนลี่ และออกจะตั้งใจเรียนเสียด้วย

แต่เพียงเพราะสังคมซุบซิบนินทาในความหวือหวาของชุดที่ผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรค์ นอกกรอบของเอมี่เท่านั้น มหาวิทยาลัยที่เธอเรียนจึงจัดการบูชายันเพื่อสังคมทันทีโดยไม่ได้มองว่า การกล้าคิดนอกกรอบในฐานะเด็กนักศึกษาคนหนึ่งที่ผ่านร้อนหนาวเลย 20 ปีมาไม่กี่มากน้อยนี้ ทางมหาวิทยาลัยจะส่งเสริมหรือขัดเกลาอย่างไรให้เป็นประกายงดงาม การออกมาตัดสินด้วยวิธีคิดตามแบบเรียน ‘เด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่ 10 อย่าง’ ผ่านสื่อโดยตรงและทันทีแทนการพูดคุยถกเถียงเป็นมุมมองกันภายในที่ทำได้ด้วยอาจารย์ที่สอนน้องเอมี่อยู่แล้ว เส้นทางนี้คือการดับการกล้าคิดอย่างเสรีทันที ในสังคมวิชาการระดับมหาวิทยาลัยถือว่าเป็นความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ในอีกประเด็นหนึ่ง มหาวิทยาลัยไม่ได้มองว่าการนินทาในสังคมไทยเป็นการควบคุมทางสังคมแบบหนึ่งอยู่แล้ว(อ้างจากนิธิ เอียวศรีวงศ์ ไม่รู้ตอนไหน เล่มไหน จำได้ว่าเคยพูดก็แล้วกัน) การตัดสินใจออกมามีบทบาทเป็นผู้พิพากษาทางศีลธรรมของธรรมศาสตร์กลับไม่ได้ต่างอะไรกับการย้อนยุคไปสู่ยุคมืดในยุโรปที่นำศาสนามากำจัดศัตรูของศาสนจักรและอาณาจักรที่ร่วมมือกันในเกือบทุกๆด้านในฐานะผู้มีอำนาจนำสูงทางสังคม(ยุคหนึ่งนักวิทยาศาสตร์ที่คิดนอกกรอบศาสนาอันอธิบายด้วยศีลธรรมคือพ่อมดแม่มด สามารถฆ่าได้โดยไม่บาปแม้แต่การเอาลิ่มไม้ตอกอกหรือเผาไฟทั้งเป็น) การกระทำนี้จึงไม่ใช่การกระทำที่มีศีลธรรมแต่กลับเป็นเรื่องไร้ศีลธรรมเสียมากกว่า ทั้งยังไม่ได้ทำหน้าที่ในการอธิบายหรือสร้างสรรค์อะไรให้สังคมไทยเลยแม้แต่น้อย แต่เป็นการย้ำวาทกรรมของเผด็จการเก่าๆให้นำประเด็น ‘ศีลธรรม’ มาเป็นเครื่องมือในการควบคุมไม่ให้เกิดการคิดนอกกรอบที่อธิบายได้ด้วยผู้อำนาจทั้งที่ ในกรณีน้องเอมี่ที่น่ารัก เพียงการซุบซิบนินทาน่าจะทำหน้าที่กับสังคมได้พอแล้วไม่ต้องให้พลังในการชี้นำทางสังคมต้องมาร่วมอธิบายอย่างทำร้าย ‘ลูกศิษย์’ ตัวเองทราบมาว่าทำร้ายถึงขนาดการใช้วิธีการ ‘ข่มขืนซ้ำ’ แบบกระบวนการยุติธรรมไทยมาสอบสวน ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ที่ต้องอธิบายทุกขั้นทุกตอนว่าป้องกันแบบไหนอย่างไรแล้วก็จับมาแถลงข่าวให้โชว์ว่าป้องกันแล้วยังไงๆกี่ชั้นๆ ตรงไหนบ้าง ชวนให้คิดภาพตามกันวุ่นวาย ไม่รู้ว่าตอนนั่งฟังรองอธิการปริญญาจะอยู่ในอารมณ์แบบใด หรืออยากจะเป็นคนตาบอดให้น้องเอมี่พูดให้ฟังซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ไม่ทราบ การใช้วิธีนี้มันน่าจะเป็นการ harassment โดยตรง ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นในสังคมมหาวิทยาลัยอันเป็นสถาบันที่ต้องสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนให้เป็นพันธกิจหลักแห่งสังคมจิตใจของหญิงสาวควรเป็นสิ่งที่ต้องทนุถนอมดุจกลีบดอกไม้ที่บอบบางแต่สวยงาม ดุจหยกใสที่เยือกเย็นทอประกายคุณค่าแต่เปราะบางแตกหักง่ายยามกระทบความแข็ง น้ำตาแต่ละหยดของหญิงสาวจึงมีความหมายที่พึงตระหนักคิด เพราะน้ำตาแม้เพียงไม่กี่หยดล้วนออกมาจากความสะทกทะท้อนภายในทั้งสิ้น ผมไม่ได้เห็นเอมี่หลั่งน้ำตากับตาแต่พอจะนึกรู้สึกสัมผัสได้ยามรับฟังใครคนหนึ่งบอกเล่าว่าเธอร้องไห้หลังเดินออกมาจากห้องสอบสวนของอาจารย์…ใครจะนึกถึงบ้างว่าที่ผ่านมาเธอใช้ความเข้มแข็งแบบใดในการเป็นนักศึกษาที่ต้องทำทั้งการเรียนให้ดีพร้อมๆไปกับการทำงานในโลกแสงสีมายา หลังจากวันนี้ที่เธอพบกับความจริงที่เป็นมายาของคนรอบตัว เธอจะเดินต่อแบบไหน เอาเป็นว่าผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่รู้จักเธอเลยสักนิดแต่จะเป็นกำลังใจให้ในฐานะที่เราทุกคนต่างก็กำลังร่วมชะตากรรมในการโดนสังคมนี้ทำร้ายเฉกเช่นเดียวกันในสังคมไทยหรือแม้แต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คำว่า ‘สิทธิเสรีภาพ’ คืออะไรกันแน่ แต่มันจำเป็นหรือที่ต้องให้อำนาจใครมากำหนด สำหรับผม การซุบซิบนินทาอาจจะเป็นการควบคุมทางสังคมที่ดีกว่าการพิพากษาทางศีลธรรมของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยกย่องว่ามี ‘เสรีภาพ’ ทุกตารางนิ้วทำเป็นแน่ผมเคยไปหาเพื่อนหรือทานเหล้าในงานบางงานของธรรมศาสตร์หลายครั้ง บางทีก็เผลอนั่งมองนวลอนงค์แน่งน้อยเดินไปมา บางอนงค์แช่มช้อยแต่ไม่หวือหวา บางอนงค์หวือหวาแต่ไม่แช่มช้อย บางอนงค์งามทั้งแช่มช้อยและหวือหวา ทั้งหมดล้วนจำกัดความได้ทั้งอยู่ในชุดนักศึกษาและไม่ใช่ (ขอพูดเฉพาะผู้หญิงเพราะไม่เคยนั่งมองผู้ชายเดินไปมา) และทั้งหมดล้วนจำกัดความได้ว่าหวือหวาหรือไม่หวือหวาไปกว่าชุดที่น้องเอมี่ใส่ไปวันงานสุพรรณหงส์ได้เช่นกัน ผมกำลังจะบอกว่าในชีวิตปกติ สังคมหรือคนรอบข้างเราจะเป็นผู้สะท้อนผู้สวมใส่ชุดเหล่านั้นอยู่แล้ว แต่จะสวมใส่อย่างไรนั้นผู้สวมใส่ควรเป็นผู้ตัดสินใจเอง เพราะบางชุดมันขึ้นกับว่าจะยอมรับการเสียดทานของสังคมได้แค่ไหนแบบใด (สมัยผมเรียนชุดโคตรรัดกุมเลย แต่ไม่ใส่ชุดนักศึกษาไปเรียน เสื้อแถมตลอดเผื่อจะมีบริษัทไหนให้เงินค่าโฆษณาสินค้า สกปรกนิดๆ ติสท์หน่อย กางเกงเปื้อนสีและไม่ค่อยซักเพราะมีตัวเดียว เหม็นอับบ้าง ผมยาวเกือบกลางหลัง ฝ่าตีนดำเพราะไม่มีตังซื้อรองเท้าผ้าใบแต่ตัดเล็บเท้าเพื่อความสะอาด สระผมทุกวัน คนภายนอกมหาวิทยาลัยบอกว่าเซอร์ แต่เพื่อนมันด่าทุกวันว่าโส โครกจะไปเข็นผักปากคลองหรือจะมาเรียนวะ ผมก็ยังทำแบบนั้นมาจนจบ และบางทีก็ติดนิสัยมาในที่ทำงานตอนนี้ด้วย)ผมยืนยันมาตลอดๆกับหญิงสาวที่รู้จักกันรอบๆตัวว่า “แต่งหวิวมาพี่ก็ดูนะน้อง…หึๆๆ” ส่วนน้องก็จะว่า “ไม่ได้ใส่มาให้ดูนะพี่ มันเป็นแฟชั่น” นานาจิตตังว่าผมจะโรคจิต หรือน้องจะเซ็กซี่ก็ว่ากันไป (ไปงานกิฟท์ที่ศิลปากรมา แฟชั่นที่ผมชอบเพียบเลยยยย) ดังนั้นขอร้องเถอะ อย่ามาออกคำสั่งหรือชี้นำด้วยอำนาจในเรื่องนี้เลยดีกว่า…. วัยรุ่นเซ็ง เซ็งสาดดด เซ็งเป็ดดดดด !!!!ความจริงแล้ผมตั้งใจจะไม่เขียนเรื่องนี้เพราะหลายคนบอกว่าไม่ควรจะพูดถึงเรื่องนี้อีก เพราะน้องเอมี่คือผู้ที่ได้รับผลกระทบเพียงคนเดียวไม่ว่าเราจะพูดในทางบวกหรือลบก็ตาม ในเบื้องแรกผมเห็นด้วย แต่ ณ วันนี้ด้วยความที่สถานการณ์มันไปแรงมากเหลือเกิน จึงคิดว่าบางความเห็นของผมจะเป็นเสียดทานบางอย่างได้บ้าง อย่างน้อยก็จะได้มีคนมาด่าหรือถกเถียงกับผมแทน นอกจากนี้อาจด้วยความหวังเล็กๆน้อยๆแม้จะเป็นจริงได้ยากคือ บทความนี้อาจเป็นประกายให้มีการตั้งคำถามทางศีลธรรมไปถึงกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยเสรีภาพทุกตารางนิ้วมากขึ้นจะได้เข้ากับวาทะเด็ดของท่านที่ว่า “เราไม่ลงนรก เป็นผู้ใดลงนรก” จะได้สมใจท่านเสียทีอย่าลืมว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองตั้งขึ้นมาบนหลักการแห่งประชาธิปไตย แต่การพูดและทำงานรองรับในอำนาจการทำรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นพฤติการณ์ที่สวนทางกับหลักการแห่งก่อตั้งทั้งสิ้น ต้านไม่ได้ก็นิ่งเฉยเสียยังดีกว่า ผมในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมคิดว่าการคาดหวังของสังคมที่มีต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์น่าจะเป็นเรื่องหลักการที่มีต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากกว่าการตามจับผิดนักศึกษาสาวแบบนี้…เรื่องแบบนี้ปล่อยให้แค่กระทรวงวัฒนธรรมบ้าไปกระทรวงเดียวก็พอแล้วครับ

ขุนพลน้อย 17 ก.พ. 50